::: ภูเก็ต ::: ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม

พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ต

by sator4u_team @2 พ.ย. 54 05:46 ( IP : 101...34 ) | Tags : ท่องเที่ยวและกิจกรรม
photo  , 600x450 pixel , 82,754 bytes.

ข้อมูลทั่วไป

อาคารที่ทำการไปรษณีย์ภูเก็ตหลังเก่า เป็นอาคารเก่าแก่อีกแห่งในจังหวัดภูเก็ตที่มีความงดงามในด้านสถาปัตยกรรม และทรงคุณค่ายิ่ง ด้วยมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นจังหวัดชายทะเลตะวันตก อาคารสีขาวโดดเด่นงามสง่า ตั้งประจักษ์แก่สายตาบุคคลทั่วไปมาหลายยุคสมัย

จากหลักฐานที่ปรากฏในจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ของรัชกาลที่ 6 ทำให้ทราบว่า อาคารแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2473? แต่เดิมเคยเป็นเรือนที่พักอาศัยของพระอนุรักษ์โยธา (นุด) ข้าหลวงรักษาราชการหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ภายหลังไม่นาน อาคารแห่งนี้ถูกนำมาใช้ในส่วนของราชการ นอกจากอาคารที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแล้ว ยังมีสำนักงานการไฟฟ้า สุขาภิบาลเมืองภูเก็ต และธนาคารออมสิน อยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกันด้วย

ลักษณะสถาปัตยกรรม สร้างเป็นอาคารชั้นเดียวคอนกรีตเสริมเหล็ก ทาสีขาว ด้านหน้าเป็นบันไดทางขึ้น 5 ขั้น เสาเป็นสี่เหลี่ยมเซาะร่องห่าง ราวลูกกรงปูนเรียบยาว กรอบหน้าต่างสีโอ๊ค มีหน้าต่างแบบเปิดบานคู่ เหนือบานเปิดเป็นช่องแสงไม้ตารางสี่เหลี่ยมติดกระจกใส ภายในตีฝ้าเพดานไม้ตีชิดทาสีขาว ประตูภายในเปิดปิดบานคู่ลูกฟักไม้ ก่อนถึงหลังคามีแนวกันสาดยื่นเป็นกันสาดคอนกรีตเสริมเหล็กบางๆ ประมาณ 10 เซนติเมตร ยื่นออกมาประมาณ 80 เซนติเมตร หลังคาเป็นทรงปั้นหยา กระเบื้องจีนดินเผาทรงกระบอกผ่าซีก ป้ายหน้าอาคารเขียนด้วยตัวหนังสือแบบเก่าว่า ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข POST & TELAGRAPH OFFICE?

มาในปีพ.ศ.2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในตัวเมืองจังหวัดภูเก็ต น้ำในคลองบางใหญ่ได้เอ่อล้นไหลเข้าท่วมในส่วนด้านหน้าของที่ทำการฯ ไปจนถึงสำนักงานประมง (ปัจจุบัน) ตัดช่วงถนนมนตรีขาดเป็น 2 ช่องคูคลอง กลายเป็นทะเล ชาวบ้านสามารถนำเรือมาจอดเทียบท่าได้ มีทั้งเรือที่มาจากเกาะยาว เกาะสิเหร่ ฯลฯ เพื่อเดินทางต่อไปยังตลาด (บันซ้าน) บริเวณถนนถลาง(ตลาดใหญ่) และตลาดเหนือ บริเวณถนนกระบี่ และถนนวิชิตสงคราม เพื่อทำการซื้อขายกัน

ต่อมาทางกองมรดกของพระพิทักษ์ชินประชามีความประสงค์จะถมที่ดินตรงส่วนนั้นเพื่อขายออกไป เทศบาลได้ขอร้องให้ยกลำคลองไว้เพื่อให้น้ำสามารถไหลผ่านออกสู่ทะเลได้ ที่ดินผืนใหญ่ได้ขายออกไปให้แก่ตระกูลถาวรว่องวงศ์ และงานทวี? ทำการขุดหาแร่ดีบุก แล้วจัดสรรเป็นศูนย์การค้าในโอกาสต่อมา ตรงบริเวณโรงแรมเพิร์ลในปัจจุบันที่อยู่ตรงข้ามกับอาคารที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขภูเก็ต ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นขุมเหมืองก็ถูกพัฒนาเป็นอาคารพาณิชย์ของขุนเลิศโภคารักษ์ในที่สุด ท่านได้พัฒนาพื้นที่ตรงนั้นให้เป็นศูนย์การค้าเลิศโภคารักษ์ นับเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ต จึงจัดได้ว่าบริเวณที่ทำการไปรษณีย์ฯ ในอดีตเป็นพื้นที่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก

เคยมีความพยามจะทำการรื้อถอนอาคารแห่งนี้มาแล้วครั้งหนึ่งในปีพ.ศ.2524 เมื่อสำนักงานจังหวัดภูเก็ตได้ทำหนังสือถึงสำนักงานไปรษณีย์เขต 8 แจ้งความประสงค์จะขอรื้อถอนอาคารเพื่อสร้างอาคารที่ทำการหลังใหม่ แต่กรมศิลปากรไม่อนุญาตให้รื้อถอน เนื่องจากอาคารดังกล่าวเป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่สมควรแก่การอนุรักษ์ไว้

ต่อมาในปีพ.ศ.2537 ได้มีการปรับปรุงอาคารไปรษณีย์ภูเก็ตหลังเก่า จัดสร้างให้เป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ตขึ้น เพื่อเป็นที่รวบรวมความรู้เรื่องแสตมป์และการสื่อสารต่างๆ ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ โดยเปิดให้เข้าเยี่ยมชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547

ภายในส่วนของอาคารพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงตราไปรษณีย์ยากร หรือดวงตราไปรษณียากรชุดต่างๆ ของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2494 นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการสื่อสารของไทยสมัยก่อน ตั้งแต่ครั้งยังเป็นกรมไปรษณีย์โทรเลข อาทิ เครื่องชั่งไปรษณียภัณฑ์แบบตัวเลขรุ่นแรก เครื่องประทับตราไปรษณียากร เครื่องรับส่งสัญญาณโทรสาร ฯลฯ

ห้องด้านหลังภายในพิพิธภัณฑ์ยังจัดเป็นห้องสมุดที่รวบรวมความรู้และเรื่องราวต่างๆ ประวัติความเป็นมาของแสตมป์ทั้งของโลกและของประเทศไทย และความเป็นมาของไปรษณีย์ไทย ฯลฯ หากมาเยี่ยมชมแล้วสนใจจะซื้อของที่ระลึกจากไปรษณีย์ติดไม้ติดมือกลับไปด้วยก็ตามแต่อัธยาศัย

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว : พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ต เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.30-17.30 น. ยกเว้นวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่เสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด ที่ตั้ง : บริเวณที่ทำการไปรษณีย์ภูเก็ต ถ.มนตรี อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 ?โทร.0 7621 6951

การเดินทาง : พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ต?ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับที่ทำการไปรษณีย์ภูเก็ตปัจจุบัน


ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://phuketbulletin.co.th/Travel/view.php?id=502


สะตอฟอร์ยูสะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook

Relate topics

Post new comment

« 1925
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง