สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

เชื้อราเมธาไรเซียม ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ เช่น ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ฯลฯ

by sator4u_team @10 เม.ย. 60 22:48 ( IP : 49...252 ) | Tags : เกษตรอินทรีย์ - ผสมผสาน

เชื้อราเมธาไรเชียมคุณสมบัติหลักคือใช้กำจัดแมลงเช่นเดียวกันเชื้อราบิวเวอเรีย แต่เชื้อราเมธาไรเซียมมีความสามารถในการกำจัดแมลงได้ดีกว่าเชื้อราบิวเวอร์เรียเนื่องจากคุณสมบัติของเชื้อราเมธาไรเซียมทนอุณภุมิได้สูงกว่า และยังอาศัยอยู่ในดิน แต่เชื้อราเมธาไรเซียมนั้นจะใช้เวลาในการติดเชื้อและทำให้แมลงตายนานกว่า



 คำอธิบายภาพ : SV-Group_02-800x400


ปกติแล้วในธรรมชาติจะมีระบบนิเวศที่สามารถควบคุมกันเองไม่ให้มากหรือน้อยเกินไปเพื่อสร้างความสมดุลในระบบสิ่งแวดล้อม แต่ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีจำนวนมากทั้งยาฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อราและจุลินทรีย์ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะทำลายแมลงและจุลินทรีย์แทบทุกชนิดทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ต่อพืช ทำให้ระบบนิเวศถูกทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่มีประโยชน์ต่อพืชทั้งที่ช่วยผสมเกสรพืช จุลินทรีย์ทำหน้าที่ปรุงอาหารให้พืชถูกทำลายลงแต่แมลงศัตรูพืชและเชื้อราโรคพืชกลับพัฒนาตัวเองให้ต้านสารเคมีได้ นอกจากทำให้ผลผลิตลดลงพืชผักถูกทำลายแล้วสารเคมียังตกค้างอยู่ในตัวเกษตรกรเองรวมถึงผู้บริโภคอีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรต้องหันกลับมาสร้างระบบนิเวศใหม่โดยเติมสารชีวภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อพืชและระบบนิเวศเข้าไปในระบบอีกครั้ง


 คำอธิบายภาพ : Spodopteralittoralis2.jpgmetarhizium


ในที่นี้จะแนะนำวิธีการขยายเชื้อราเขียวไว้ใช้เองเพื่อลดต้นทุนในการผลิต เพื่อสุขภาพของเกษตรกร คนในครอบครัวรวมถึงผู้บริโภคและเพื่อคุณภาพของสารชีวภัณฑ์ที่ดีที่สุดนั้นคือเชื้อสดนั้นเอง


เชื้อราเมธาไรเซียม สามารถป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิเช่น ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ด้วงหมัดผัก ตั๊กแตน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงปากกัดปีกแข็ง หนอนกระทู้คอรวง หนอนกอข้าว หนอนใยผัก หนอนม้วนใบ หนอนหนังเหนียวและแมลงวันผลไม้


 คำอธิบายภาพ : Fig-1-Infection-of-Beauveria-bassiana-Bb2860-Metarhizium-anisopliae-Ma759-and


เชื้อราเมธาไรเซียม เป็นเชื้อราที่มีสีเขียวหม่น เป็นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีการนำมาใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชหลายชนิด อย่างกว้างขวาง จัดเป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นอ้อย (Dorysthenes  buqueti Guerin.) สามารถทำลายด้วงหนวดยาวได้ทุกระยะ ตั้งแต่ระยะที่เป็นไข่จนถึงตัวเต็มวัย สามรถทำลายระยะที่เป็นหนอนได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ จัดว่าเป็นการควบคุมโดยชีววิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง รวมทั้งเชื้อราเมธาไรเซียม  สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นานกว่า 3 ปี ทำให้มีระยะการควบคุมได้นาน


การควบคุมและทำลาย



เชื้อราเมธาไรเซียม สามารถควบคุมและทำลายแมลงได้โดย เมื่อเชื้อราเมธาไรเซียม เข้าสู่แมลงทางผิวหนัง หรือช่องว่างของลำตัวรวมทั้งจะสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยย่อยผนังบางส่วนและงอกสปอร์แทงผ่านลำตัวเข้าไป เจริญ และเพิ่มปริมาณทำให้แมลงเกิดโรค ตายในที่สุด แมลงที่ตายด้วยเชื้อราเมธาไรเซียม จะมีลักษณะลำตัวแข็งมีเชื้อราขึ้นปกคลุมลำตัวภายนอกเป็นสีเขียว ซึ่งระยะเวลาในการทำลายจะเร็วหรือช้า ขึ้นกับสภาพแวดล้อมได้แก่อุณหภูมิ ความชื้นและแสงสว่าง ที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้น มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแสงแดด มีรังสียูวีจะมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา นอกจากนี้ความรุนแรงของเชื้อ จะรุนแรงมากหรือน้อย ยังขึ้นกับลักษณะพันธุกรรมของเชื้อ  ความแข็งแรง หรือภูมิต้านทานของแมลงอีกด้วย


กลไกการเข้าทำลายแมลงของเชื้อราเมธาไรเซียม



เมื่อสปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวของแมลง ในสภาพความชื้นที่เหมาะสม (ความชื้นสัมพัทธ์ 70 % ขึ้นไป) จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลง แล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุด ภายในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของแมลง โดยทั่วไปประมาณ 3 – 14 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของแมลง


 คำอธิบายภาพ : pic1


เชื้อราเมธาไรเซียม ที่ตกที่ผนังลำตัวแมลง เมื่อมีสภาพที่เหมาะสมสปอร์จะงอกแทงทะลุผ่านลำตัวแมลงเข้าไปไชช่องว่างภายใน ลำตัวและเจริญเติบโตเป็นเส้นใยท่อนสั้นๆ ทำลายเซลล์เม็ดเลือดในตัวของแมลง ทำให้แมลงเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด หลังจากแมลงตายแล้วเชื้อราจะสร้างสปอร์แพร่กระจายได้ตามธรรมชาติ เฝ้าระวังแปลงนาของเกษตรกรจากแมลงศัตรูข้าง เพราะสามารถทำลายแมลงได้ทุกระยะ


การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราเมธาไรเซียม



สปอร์เชื้อราตกติดอยู่กับผนังลำตัวแมลงเข้าสู่ตัวแมลงทางผนังลำตัว รูหายใจ บาดแผลบนผนังลำตัว ความชื้นเหมาะสมกับการงอก สปอร์จะแทงทะลุผิวหนังลำตัว เชื้อราจะงอกสู่ช่องว่างลำตัวแมลงเจริญเติบโตสร้างเส้นใยมากมายทำลายแมลง เมื่อแมลงตาย เส้นใยจะแทงผ่านผนังลำตัวแมลงออกสู่ภายนอกตัวแมลง สปอร์จะแพร่กระจายไปตามลม ฝนหรือติดกับตัวแมลง เชื้อราจึงสามารถขยายพันธุ์ต่อได้ และเมื่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะทำลายแมลงศัตรูต่อไป


ลักษณะอาการของแมลงที่ถูกเชื้อราเมธาไรเซียม ทำลาย



 คำอธิบายภาพ : preview


แมลงที่ถูกทำลายจะแสดงอาการของการเป็นโรคคือ เบื่ออาหาร กินน้อยลง อ่อนเพลียและไม่เคลื่อนไหว สีผนังลำตัวแมลงมักจะเปลี่ยนไป ปรากฏจุดสีดำบนบริเวณที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย พบเส้นใย และผงสีขาว ของสปอร์ปกคลุมตัวแมลงที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย


การฉีดพ่นเชื้อราเมธาไรเซียม



การพ่นเชื้อราเมธาไรเซียม เพียงครั้งเดียวอาจไม่ได้ผล ต้องพ่นซ้ำ 2-3 ครั้งขึ้นไป และควรพ่นในช่วงที่แมลงยังตัวเล็กๆ การพ่นต้องให้ถูกตัวแมลงด้วย เนื่องจากเชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิต การออกฤทธิ์ของเชื้อราไม่เหมือนสารเคมีซึ่งสามารถดูดซึมผ่านไปยังเนื้อเยื่อได้ เมื่อแมลงมาดูดกินก็จะได้รับสารเคมีทำให้แมลงตาย ในกรณีที่แมลงเกาะอยู่ใต้ใบ หากพ่นเชื้อราไปตกอยู่บนใบ เชื้อราจะไม่ออกฤทธิ์ฆ่าแมลงได้ ดังนั้นการพ่นเชื้อราต้องให้สปอร์ไปตกหรือถูกตัวแมลงเท่านั้นจึงจะทำลายแมลงได้ อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงช่วงเวลา แสง อุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสมดังกล่าวเป็นสำคัญ สปอร์จึงจะงอกเส้นใยออกมาแทงทะลุเข้าไปในตัวแมลงได้


Powerful Natural Biological Pesticide: Metarhizium


การใช้อุปกรณ์พ่นสารเคมีร่วมกับอุปกรณ์พ่นเชื้อรา



สามารถใช้อุปกรณ์ตัวเดียวกันได้ แต่จะต้องเปิดรูหัวฉีดให้กว้างขึ้น ถ้าเราไม่ปรับหัวฉีดให้รูกว้างขึ้น อาจทำให้อุปกรณ์ส่วนอื่นอุดตันได้ โดยเฉพาะที่หัวฉีด เพราะการใช้เชื้อราพวกนี้ต้องการความชื้นมาก จึงจำเป็นต้องเปิดรูให้กว้างขึ้น ปริมาณน้ำที่ใช้ผสมจะต้องมากกว่าการพ่นสารเคมี จึงจะทำให้มีความชื้นมากและต้องพ่นให้เปียกโชก ควรผสมสารจับใบสำหรับชีวภัณ์ด้วยเพื่อให้สปอร์เกาะพืชดีขึ้น


เชื้อราเมตตาไรเซียม ตัวช่วยกำจัดศัตรูพืช


ดังนั้น เกษตรกรที่จะใช้เชื้อราเมธาไรเซียม ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยหรือแมลงศัตรูพืช จะต้องศึกษาและเข้าใจในธรรมชาติของเชื้อรา และแมลงศัตรูพืชแต่ละชนิด และใช้ให้ถูกวิธีการกำจัดจึงจะได้ผล


การใช้เชื้อราเมธาไรเซียม ควบคุมศัตรูพืชอย่างถูกต้อง



เนื่องจากเชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิต การนำไปใช้จะได้ผลหรือไม่ ต้องอาศัยปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องหลายอย่าง ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น แสงกับช่วงเวลา และตัวของแมลงเอง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเชื้อราเมธาไรเซียม จะทำให้เชื้อรางอกสปอร์ได้ดี จะอยู่ในระหว่าง 25-30องศาเซลเซียส ความชื้น ความชื้นที่เหมาะสมสำหรับพ่นเชื้อราเมธาไรเซียม ต้องมีความชื้นสูงมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป


ความชื้นที่เหมาะสมที่สุด คือช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ในบรรยากาศมีความชื้นสูง เนื่องจากความชื้นจะไปกระตุ้นให้สปอร์งอกออกมาและแทงทะลุผ่านเข้าไปในตัวแมลงหรือตัวเพลี้ย แต่ถ้าจะพ่นในช่วงฤดูฝนต้องดูว่าช่วงนั้นเพลี้ยระบาดหรือเปล่า เพราะโดยธรรมชาติฝนจะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยอยู่แล้ว หากแมลงระบาดในช่วงแล้ง ซึ่งอุณหภูมิและความชื้นไม่เหมาะต่อการพ่นเชื้อรา ดังนั้นเกษตรกรจะต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนี้ จึงจะสามารถใช้เชื้อราให้เกิดประสิทธิผล แสงกับช่วงเวลา


 คำอธิบายภาพ : pic58ebac657622358eb


การที่จะพ่นเชื้อราเมธาไรเซียม ให้ได้ผล คือ ต้องเป็นช่วงเวลาเย็นที่อากาศมีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ การที่เลือกเวลาพ่นเชื้อราในตอนเย็น ก็เพื่อไม่ให้โดนแสงแดด เพราะแสงแดดจะทำให้เชื้อราเสื่อมคุณภาพเร็วยิ่งขึ้น


เรียบเรียง โดย ###บ้านผักยิ้มหวาน

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 9217
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง