สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

มารู้จัก ชนิดของข้าวโพดหวาน

by sator4u_team @3 ก.ค. 58 22:19 ( IP : 49...168 ) | Tags : เกษตรอินทรีย์ - ผสมผสาน , ข้าวโพดหวาน

ปัจจุบันประเทศไทย ส่งออกข้าวโพดหวานในรูปแบบต่างๆ สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และฮังการี  ยอดส่งออก ข้าวโพดหวานของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาโดยตลอด จากปริมาณการส่งออก 500 กว่าตัน มูลค่ารวม 10 กว่าล้านบาทในปีแรก ได้เติบโตเป็นมากกว่า 109,774 ตัน  มีมูลค่ารวมกว่า 3,200 ล้านบาท ในปี 2548 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 ปีหลัง  มูลค่าการส่งออกในแต่ละปีเติบโตขึ้นอย่างมาก  โดยปริมาณการส่งออกรวมในรูปแบบต่างๆ  เพิ่มขึ้นจาก 77,432 ตัน ในปี 2546 เป็น 109,774 ตัน ในปี  2548  และมูลค่าการส่งออกเพิ่มจาก 2,122 ล้านบาท  เป็น 3,200 ล้านบาท  โดยการส่งออกในรูปปรุงแต่ไม่แช่เย็นจนแข็งมีปริมาณการส่งออก 76,118 - 103,975 ตัน และมีมูลค่า 2,078 - 3,032 ล้านบาท  การส่งออกในรูปข้าวโพดหวานดิบ หรือทำให้สุกแช่แข็ง มีปริมาณ 831 - 5,799 ตัน  คิดเป็นมูลค่า 44 – 169 ล้านบาท


 คำอธิบายภาพ : IMG_20150514_111636


อุตสาหกรรมข้าวโพดหวานยังมีแนวโน้มการเติบโตต่อไปในอนาคต  เนื่องจากข้อได้เปรียบของประเทศไทยที่สำคัญ 2 ประการ เมื่อเทียบกับผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่  คือสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส  ฮังการี และแคนาดา  คือ ประเทศผู้ผลิตเหล่านั้น  มีฤดูกาลสิ้นประมาณ 60 วัน  ในช่วง 1 ปี เนื่องจากข้าวโพดหวานเป็นพืชที่ต้องการแสงมาก ในประเทศเมืองหนาว  จึงปลูกได้เฉพาะในช่วงฤดูร้อนเท่านั้น  ส่วนข้อได้เปรียบที่สำคัญอีกประการ คือ ค่าใช้จ่ายทางด้านขนส่งทางเรือ ต่ำกว่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน  ที่มีความต้องการนำเข้าสินค้าข้าวโพดหวานเป็นปริมาณมาก  ข้าวโพดหวานจึงเป็นพืชเศรษฐกิจพืชหนึ่ง  ที่มีอนาคตในการผลิตและส่งออกมาก    ข้าวโพดหวานที่เราปลูกกันและบริโภคในบ้านเราจะเห็นว่ามีลักษณะฝัก  เปลือกหุ้มฝัก  ความหวาน  สีของเมล็ด  และความอร่อย  ที่แตกต่างตามลักษณะของพันธุ์  อันเนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมของแต่ละพันธุ์ของข้าวโพดหวาน


ชนิดของข้าวโพดหวาน


สามารถจำแนกตามหน่วยพันธุกรรม (gene) ที่ควบคุมได้ดังนี้


1.)  กลุ่มที่ควบคุมด้วยยืนชูการี่ (Sugary, su/su)  ข้าวโพดหวานกลุ่มนี้มีปลูกในประเทศไทยมานาน  มีความหวานเล็กน้อย มีน้ำตาลซูโครส (sucrose)  ประมาณ 10.2 เปอร์เซ็นต์  ขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะมีซูโครสประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์    เมล็ดมีสีเหลืองอ่อน มีเปลือกหุ้มเมล็ดค่อน ข้างเหนียว เวลารับประทานมักติดฟัน เมล็ดแก่จะเหี่ยวย่น    เนื่องจากมีแป้งในเมล็ดเพียง 28 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เมล็ดเกิดการยุบตัวมาก พันธุ์ข้าวโพดหวานที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ พันธุ์อีเหี่ยว


2.)  กลุ่มที่ควบคุมด้วยยีนชรังเค่น (shrunken, sh/sh หรือ sh2/sh2) ข้าวโพดหวานกลุ่มนี้มีความหวานสูงกว่าในกลุ่มแรก  มีซูโครสประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์  เมื่อต้มและทิ้งไว้จนเย็นจะเหี่ยวเร็วกว่ากลุ่มแรก  เมล็ดมีสีเหลืองส้ม เปลือกหุ้มเมล็ดเหนียวน้อยกว่ากลุ่มแรก  เวลารับประทานมักจะไม่ค่อยติดหรือมีติดอยู่บนซังเพียงเล็กน้อย เวลารับประทานมักจะไม่ค่อยติดหรือมีติดอยู่บนซังเพียงเล็กน้อย เมล็ดแก่จะยุบตัวมากกว่า เพราะมีแป้งเพียง 18 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์ข้าวโพดหวานที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น พันธุ์อินทรี 2, ชูการ์ 73, ไฮบริกซ์ 5 และไฮบริกซ์ 10 เป็นต้น


3.)  กลุ่มที่ควบคุมด้วยยีนบริทเทิล (brittle, bt / bt หรือ bt2 / bt2) ข้าวโพดหวานในกลุ่มนี้จะมีความหวานใกล้เคียงกับกลุ่มที่สอง  เมล็ดมีสีเหลืองนวล  เปลือกหุ้มเมล็ดบาง  เวลารับประทานกัดหลุดจากซังง่าย จึงไม่ติดฟัน    และจะมีความหวานกรอบมากกว่ากลุ่มอื่นๆ พันธุ์ที่มียีนบริทเทิลควบคุมความหวาน เช่น พันธุ์เอทีเอส -2 หรือซูการ์ 74


4.)  กลุ่มที่มียีนเสริม      ข้าวโพดหวานชนิดนี้จะมียีนที่เป็น  homozygous recessive  อยู่หนึ่งตำแหน่ง            แต่อีกตำแหน่งหนึ่ง จะเป็น heterozygous เมื่อนำเมล็ดไปปลูกเพื่อผลิตฝักสด ยีนที่เป็น heterozygous จะแยกตัวตามกฎของ Mendel  มีผลทำให้ 25 เปอร์เซ็นต์ ของเมล็ดที่เรารับประทานนั้นเป็น double recessive  ทำให้ผู้รับประทานมีความรู้สึกว่าข้าวโพดนั้นหวานขึ้น  ข้าวโพดหวานพวกนี้มียีน su    เป็นพื้นฐานเพราะนักปรับปรุงพันธุ์  ต้องการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานนั้นให้หวานขึ้นโดยการนำยีน sh2  หรือ ซูการ์รีเอ็นฮานเซอร์ (sugary enhancer, se) มาช่วยเสริมตัวอย่างข้าวโพดหวานชนิดนี้คือพันธุ์ Sugar Loaf, Honey Comb และ Sugar Time เป็นต้น ในประเทศไทยข้าวโพดข้าวเหนียวหวานขอนแก่นอาจจะจัดอยู่ในประเภทนี้ได้  โดยมียีน sh2 เป็นพื้นฐาน และมียีน su หรือ wx เป็นตัวเสริม    ได้มีผู้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานประเภทนี้เข้ามาปลูกเหมือนกัน สังเกตง่ายๆ คือ ฝักข้าวโพดหวานอาจจะมีเมล็ด 2 สี คือ สีเหลืองและสีขาว  โดยจะอยู่ในอัตราส่วน 75 : 25  ซึ่งนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวาน หรือวงการค้าเมล็ดข้าวโพดหวานจะเรียกว่า bi-color  แต่ถ้าจะพิสูจน์ให้แน่ชัดว่าข้าวโพดหวานนั้น  อาจเกิดจากยีนเสริมหรือไม่ก็จะต้องนำฝักของข้าวโพดหวานที่สงสัยนั้นมาตากให้แห้ง  แล้วดูว่าเมล็ดที่แห้งแล้วเหมือนกันทั้งฝักหรือไม่      ถ้าเมล็ดที่แห้งแล้วเหมือนกันทั้งฝักก็แสดงว่าเป็นข้าวโพดหวานชนิดยีนเดียว  แต่ถ้าเมล็ดที่แห้งแล้วมีเมล็ดลีบมากๆ  คล้ายข้าวโพดหวานพิเศษอยู่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์      เมล็ดลีบมากๆ นี้เป็น double recessive ที่เหลืออีก 75 เปอร์เซ็นต์ เป็นเมล็ดข้าวโพดหวานธรรมดา ข้าวโพดหวานฝักนั้นก็เป็นข้าวโพดหวานที่เกิดจากยีนเสริม


5.)  กลุ่มที่เกิดจากยีนร่วม  เนื่องด้วยข้าวโพดหวานธรรมดามีความหวานน้อย  และปัญหาเรื่องอัตราความงอกต่ำในข้าวโพดหวานพิเศษ  นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวาน  จึงได้พยายาม นำยีนต่างๆ มาอยู่ร่วมกันในสภาพ homozygous recessive ที่ทุกๆ ตำแหน่ง (locus) เพื่อให้ได้ข้าวโพดหวานที่มีคุณภาพดีขึ้น  คือ ปริมาณน้ำตาลสูงขึ้น  และแก้ปัญหาในเรื่องอัตราความงอกต่ำ อย่างไรก็ตาม  พันธุ์ข้าวโพดที่นิยมปลูกในประเทศไทยส่วนใหญ่  จะเป็นพันธุ์ที่ควบคุมความหวานด้วยยีน 2 ชนิด  คือ ยีน ชรังเค่นและยีนบริทเทิล    ซึ่งพันธุ์ทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว มีอัตราส่วนทางการตลาดใกล้เคียงกัน


พันธุ์ข้าวโพดหวาน


1.)  พันธุ์ผสมเปิด  ได้แก่ พันธุ์ฮาวายเอี้ยนชูการ์ ซูเปอร์สวีท    เป็นพันธุ์ให้ผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์ลูกผสม แต่ความสูงต้น ความสูงฝัก และอายุเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสม


2.)  พันธุ์ลูกผสม  ปัจจุบันมีข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสมมากมายให้เกษตรกรเลือกใช้    ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ของบริษัทเอกชนต่างๆ  และมีบางพันธุ์เป็นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสมของกรมวิชาการเกษตรยังอยู่ในขั้นตอนท้ายๆ ของการปรับปรุงพันธุ์ซึ่งคาดว่าจะออกเป็นพันธุ์รับรองหรือพันธุ์แนะนำได้ภายใน 2 - 3  ปี นี้


 คำอธิบายภาพ : pic5596a9351131c


ที่มา @ กรมวิชาการเกษตร

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 0259
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง