ท่อ HDPE คืออะไร ทำความรู้จักข้อดี คุณสมบัติ และการใช้งาน
ท่อ HDPE คืออะไร ทำความรู้จักลักษณะ คุณสมบัติเด่น พร้อมแนวทางการใช้งานได้ที่นี่
ในยุคที่เทคโนโลยีด้านการก่อสร้างเติบโตอย่างก้าวกระโดด เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยจึงไม่ได้ถูกจำกัดแค่ในแง่ของความแข็งแรงเพียงอย่างเดียว วัสดุที่ดีในปัจจุบันจึงต้องตอบโจทย์ในด้านของความปลอดภัยและความยืดหยุ่นในการใช้งาน ท่อ HDPE วัสดุยอดนิยมในวงการก่อสร้างที่มีจุดเด่นในเรื่องของความแข็งแรงคงทน และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ท่อชนิดนี้จึงเป็นวัสดุสำคัญสำหรับการทำงานก่อสร้างที่จะช่วยให้งานก่อสร้างมีประสิทธิภาพ และมีรากฐานที่มั่นคง ท่อ HDPE คืออะไร มีข้อดีและลักษณะเด่นอย่างไร เราจะพาทุกท่านมาหาคำตอบกันในเนื้อหาของบทความนี้
ท่อ HDPE คืออะไร ทำความรู้จักลักษณะเด่นของท่อชนิดนี้
ท่อ HDPE คือวัสดุสำคัญสำหรับการทำงานก่อสร้างที่สามารถทำได้ทั้งงานสายไฟไปจนถึงการวางระบบท่อส่งน้ำ จากจุดเด่นในเรื่องของความแข็งแรง ทนทาน และอายุการใช้งานที่ยาวนาน แล้วอย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นว่าปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการก่อสร้างมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด คุณสมบัติของท่อ HDPE จึงถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น จากแต่เดิมที่ท่อ HDPE เป็นเพียงท่อที่ผลิตจากพลาสติกโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) ชั้นเดียว ในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาท่อ HDPE ให้มีผนัง 2 ชั้น เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในเรื่องของการทนความร้อน การกันไฟ และการกันไฟลามในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้
โดยที่โครงสร้างของท่อ HDPE กันไฟผนัง 2 ชั้นจะเป็นท่อที่มีผนังชั้นนอกที่มีคุณสมบัติในเรื่องของการให้ความแข็งแรง การทนต่อแรงกระแทก และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ และมีผนังชั้นในที่ผลิตจากวัสดุช่วยชะลอการลามของเปลวไฟ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในเรื่องของการกันลามไฟ ทำให้ไม่ว่าจะเกิดแรงกดดัน สภาพแวดล้อมที่ผิดปกติ เกิดความร้อนสูง หรือเกิดเพลิงไหม้ ท่อ HDPE ก็จะยังสามารถทำงานได้อย่างปกติ
ท่อ HDPE กันลามไฟมีคุณสมบัติอย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในงานช่าง
หลังจากพูดถึงความหมายและลักษณะเด่นของท่อ HDPE กันไปแล้ว หัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงคุณสมบัติพิเศษที่ทำให้ท่อชนิดนี้ได้รับความนิยมกันบ้าง โดยท่อ HDPE ผนัง 2 ชั้นกันลามไฟจะมีคุณสมบัติพิเศษ ดังนี้
ทนความร้อนและกันไฟลามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความที่ท่อ HDPE ผนัง 2 ชั้น มีผนังชั้นในที่มีได้รับการออกแบบมาให้สามารถชะลอการลุกลามของไฟได้ ท่อชนิดนี้จึงสามารถกันความร้อนและไฟได้เป็นอย่างดี
ไม่ดูดซึมสารเคมีและความชื้น ท่อ HDPE มีคุณสมบัติที่ทนต่อการกัดกร่อน ท่อชนิดนี้จึงทนต่อสารเคมี ไม่เป็นสนิม และไม่ดูดซับน้ำ ทำให้อยู่ได้ในหลากหลายสภาพแวดล้อม
อายุการใช้งานยาวนานด้วยวัสดุที่ทนต่อสภาพแวดล้อมทั้งแสงแดด ความร้อน ความชื้น และรังสี UV
รับแรงดันได้ดีจากความแข็งแรงที่สามารถรับได้มากเทียบเท่าท่อ HDPE PN6
ท่อ HDPE กับวิธีการใช้งานในระบบอุตสาหกรรม
ท่อ HDPE กันไฟสามารถใช้งานกับระบบอุตสาหกรรมได้หลากหลาย แต่ระบบอุตสาหกรรมที่นิยมใช้ท่อ HDPE ผนัง 2 ชั้น จะมีดังต่อไปนี้
ระบบร้อยสายไฟในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อกันไฟฟ้าลัดวงจรและกันการลุกลามของไฟในยามฉุกเฉิน
ระบบส่งน้ำในอุตสาหกรรมการผลิต จากผิวด้านในที่กันสารเคมีและมีความไหลลื่นสูง ท่อ HDPE จึงเป็นท่อที่นิยมนำไปใช้สร้างระบบขนส่งน้ำ
ระบบระบายของเสียและน้ำทิ้ง ด้วยความคงทนต่อสภาพแวดล้อมและความสึกกร่อนยาก ท่อชนิดนี้จึงได้รับความนิยมนำไปใช้สร้างระบบระบายของเสีย
อุตสาหกรรมก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน จากคุณสมบัติในเรื่องความแข็งแรง ปลอดภัย และขนาดท่อ HDPE ที่ยาวท่อชนิดนี้จึงได้รับความนิยมในการใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐาน
ท่อ HDPE ที่ดีควรมีมาตรฐานอย่างไร พร้อมแนวทางการทดสอบประสิทธิภาพ
การเลือกใช้ท่อ HDPE ไม่ใช่แค่ดูจากวัสดุภายนอกเท่านั้น แต่ยังต้องตรวจสอบความเหมาะสมและมาตรฐานการทดสอบการใช้งานตามตารางท่อ HDPE โดยท่อ HDPE ที่ดีควรผ่านการทดสอบดังนี้
ทดสอบอัตราการไหล ณ จุดหลอมเหลว เพื่อวัดว่าท่อ HDPE ที่เลือกใช้สามารถคงรูปได้
ทดสอบเสถียรภาพทางความร้อน ผ่านการตรวจสอบว่าวัสดุสามารถทนต่อความร้อนสูงได้
ทดสอบแรงอัดแรงดึง เพื่อดูความแข็งแรงและการรับแรงกดทับ
ทดสอบการติดไฟ เพื่อดูว่าท่อ HDPE จะไม่เป็นตัวนำไฟในเหตุฉุกเฉิน
ทดสอบความทนแรงดันภายใน เพื่อให้มั่นใจว่าท่อจะไม่เกิดการชำรุดแตกหักระหว่างใช้งาน
ท่อ HDPE ท่อที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในระบบอุตสาหกรรม
ท่อ HDPE เป็นท่อพลาสติกที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในธุรกิจงานอุตสาหกรรม ด้วยคุณสมบัติเด่นด้านความแข็งแรง ความทนความร้อน การกันไฟ และอายุการใช้งานที่ยาวนาน อีกทั้งขนาดท่อ HDPE ยังมีให้เลือกหลากหลายตามความเหมาะสมของงาน ที่ไม่ว่าจะเป็นงานเดินสายไฟ งานทำระบบส่งน้ำ หรือการโครงสร้างพื้นฐานก็สามารถทำได้ แถมราคาท่อ HDPE ยังมีหลากหลายและจับต้องได้ ท่อชนิดนี้จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในระบบอุตสาหกรรม