พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3
พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3
วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาปัตยกรรมที่นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของวัดคือพระอุโบสถที่สร้างในสมัยนั้น รวมทั้งโบสถ์ หอระฆัง และเจดีย์ ของวัดพระนอนแหลมพ้อ ถือว่าเป็นการสร้างตามพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ซึ่งจะไม่มีช่อฟ้า ใบระกา เป็นการสร้างตามแบบของศิลปกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยช่างพื้นเมืองภาคใต้ในยุคนั้น จึงเป็นงานพุทธศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์ งดงาม ที่มีคุณค่าควรแก่การชื่นชม ศึกษา และอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของชาติให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมกันต่อไป
องค์พระนอนวัดนี้นั้นเป็นพระพุทธรูปปางปรินิพานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2537 ประดิษฐานบนฐานที่ไม่สูงนัก อีกทั้งที่ตั้งวัดอยู่ใกล้ถนนเชิงสะพานติณสูลานนท์ฝั่งเกาะยอ จึงทำให้เป็นที่สะดุดตาของผู้ที่ขับรถผ่านไปมา ซึ่งนั้นก็รวมถึงพวกเราด้วย งานนี้ก็เลยถือโอกาสแวะมากราบนมัสการเพื่อความเป็นสิริมงคลกันหน่อย และก็เป็นที่น่าแปลกใจ(อย่างน้อยก็สำหรับพวกเรา)ที่เห็นกลุ่มนักท่องเที่ยวหนุ่มสาวชาวมาเลเซีย(จีน) มากราบท่านเจ้าอาวาสแล้วก็รับสายสิจน์ไปคนละเส้น หนึ่งในนักท่องเที่ยวกลุ่มที่ว่าควักสตางค์ใส่ลงในบาตรเพื่อทำบุญตั้งหลายพัน อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกก็ได้หากศรัทธา พวกเราเองก็กำลังจะเข้าไปกราบหลวงพ่อแล้วขอสายสิจน์เหมือนกันแต่ในมือนะกำตังค์คนละยี่สิบสามสิบก็เลยต้องถอยออกมาตั้งหลักกันใหม่พร้อมกับอดหัวเราะกันเองไม่ได้ แต่ในที่สุดพวกเราก็เข้าไปขอสายสิจน์จากหลวงพ่อมาคนละเส้นครับ
พระอุโบสถนั้นถือว่าเก่าแก่ และดูแปลกตาพอสมควร มีการตกแต่งส่วนบันด้านหน้าเป็นช้างเอราวัณ จั่วด้านหน้าเป็นลายปูนปั้นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ สีสันของอุโบสถสีขาวๆดูสวยสะอาดตาให้ความรู้สึกที่แปลกตาเล็กน้อย เพราะเราจะคุ้นเคยกับสีแดงกับทองมากว่า พระอุโบสถและพระเจดีย์นั้นจัดเป็นโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรเรียบร้อยแล้ว และได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ซึ่งตอนที่เราไปนี้ทางวัดทาสีซะขาวจั๊วดูใหม่เกินอายุจริงมากมาย แต่ก็ดูจนสวยสมบูรณ์แบบที่เห็นนี้แหล่ะครับ
นอกจากพระพุทธรูปปางปรินิพานที่งดงามแล้ว ที่บริเวณหน้าองค์พระนอนองค์นั้นเราจะเห็นมีรูปหล่อเหมือนพระ 5 องค์ ประกอบไปด้วย สมเด็จเจ้าเกาะยอ สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ สมเด็จเจ้าพระโคะ(หลวงปู่ทวด) สมเด็จเจ้าจอมทอง และสมเด็จโต ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นเกจิอาจารย์ที่ชาวสงขลานับถือเป็นอย่างมาก ซึ่งพระเกจิทั้ง 5 นี้หากใครไปลองศึกษาประวัติท่านจะพบว่าแต่ละองค์นั้นมีเรื่องเหนือธรรมชาติ และปาฎิหารย์มากมายทีเดียว นอกจากนี้ยังมีศาลาท้าวมหาพรหม ศาลาเจ้าแม่กวนอิม และพระสมเด็จเจ้าเกาะยอปางมารวิชัยด้วย
ทั้งหมดนี้คงจะทำให้เข้าใจง่ายๆได้ว่าทำไมวัดแหลมพ้อนี้ จึงเป็นที่เลื่อมใส่ศรัทราทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ผู้คนที่เข้ามานมัสการกราบไหว้พระที่วัดแหลมพ้อนั้นต่างมีเหตุผลไม่เหมือนกัน แม่ค้าขายชาโอเลี้ยงเล่าให้เล่าฟังตอนที่เราไปซื้อน้ำป้าแกว่า หลวงพ่อท่าน(สมเด็จเจ้าเกาะยอ)ศักดิ์สิทธิ์นะ คนมาไหว้บนบาลขอกันเรื่อย ส่วนมากก็จะสมหวังกันทั้งนั้น ไม่ใช่แต่คนไทยนะ พวกมาเลย์(หมายถึงคนมาเลเซีย)ก็มาเที่ยวมาไหว้พระกันเยอะโดยเฉพาะเสาร์อาทิตย์ เอาเป็นว่า..นั้นก็เป็นเรื่องเล่าจากแม่ค้าคนนึง โดยความเห็นพวกเรานั้น…การมาเที่ยวไหว้พระเป็นเรื่องของศรัทรา และความสบายอกสบายใจล้วนๆ จะขออะไร จะให้อะไร จะทำบุญเท่าไหร่ ทำไปเถอะ ขอให้ทำแล้วรู้สึกเป็นสุขเป็นอันใช้ได้
การเดินทาง
วัดพระนอนแหลมพ้ออยู่ห่างจากตัวเมืองสงขลาประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายลพบุรีราเมศวร์ และเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกบ้านน้ำกระจาย ไปตามทางหลวงสาย 4146 ทางไปเกาะยอ ใกล้สะพานติณสูลานนท์ ช่วง 2 หรือนั่งรถโดยสารประจำทางจากหอนาฬิกาในตัวเมือง ลงที่สี่แยกบ้านน้ำกระจาย และต่อรถสองแถวลงที่ปากทางแล้วเดินต่ออีก 100 เมตรถึงวัดครับ(ค่าสองแถว 10 บาท พ.ศ.2556)
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปั
- เขาตังกวน พระธาตุเจดี กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลาเจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ป
- เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุงจากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ #ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ #ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง ทำให้หวนนึกถึง #ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพ
- เกาะพยาม จ.ระนอง ...ดินแดนกาหยูหวานและหาดทรายขาวเกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที
- ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลารับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว
- เกาะละวะ (เกาะละวะใหญ่) เกาะเล็กๆในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทะเลไทยสวยไม่แพ้ที่ใดใน 3 โลก...และวันนี้จะพาเพื่อนๆไปพิสูจน์กันว่าที่กล่าวมานั้นไม่ได้เวอร์แต่อย่างใด กับการเดินทางท่องไปตามใจฉัน ณ เกาะละวะ หรือ เกาะละวะใหญ่ เกาะเล็กๆในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุ
- ตำนาน บ่อ 7 ลูก "ลากาตูโยะ" ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูลตำนาน บ่อ 7 ลูก "ลากาตูโยะ" ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ตำนานเล่าว่าชาวเลที่อพยพมาจากเกาะห่างไกลจากฝั่งออกไป ในขณะที่อพยพมาอยู่นั้น พวกชาวเลได้ขุดบ่อเพื่อให้มีน้ำดื่ม น้ำใช้ แต่ปรากฎว่ามีน้ำกร