กว่า 5000 ปี บนเส้นทางชีวิตของมานิ (เงาะซาไก) แห่งเทือกเขาบรรทัด

by sator4u_team @10 ส.ค. 55 14:59 ( IP : 113...201 ) | Tags : แลใต้

กว่า 5000 ปี บนเส้นทางชีวิตของมานิ (เงาะซาไก) แห่งเทือกเขาบรรทัด



 คำอธิบายภาพ : 20090206225009


 คำอธิบายภาพ : 1629553_TqNCALTU5M2238


ชาวมานิ (ซาไก) ตั้งถิ่นฐานกันมากบริเวณบริเวณพื้นที่ป่าเทือกเขาบรรทัดทางภาคใต้ของประเทศไทย ในเขตจังหวัดตรัง พัทลุง สตูล ยะลา และนราธิวาส ภาษาของมานิ (ซาไก) จัดอยู่ในตระกูลอัสเลียน (Aslian) ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มมอญ-เขมร ตระกูลออสโตรเอเชียติก ชนกลุ่มนี้มีเพียงภาษาพูดไม่มีภาษาเขียนหรือตัวอักษร คำศัพท์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ปัจจุบันพบการใช้คำศัพท์จากภาษาไทยภาคกลาง ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษามลายูถิ่น


เดิมที ชาวมานิเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมแบบหาของป่า-ล่าสัตว์ในผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันนี้ ปัจจัยของความเปลี่ยนแปลงภายนอก ทั้งทางด้ายกายภาพและสังคม ได้เปลี่ยนแปลงให้ชนกลุ่มนี้มีลักษณะการดำรงชีวิต เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีวิถีชีวิตแบบเคลื่อนย้ายอพยพหาของป่าล่า-สัตว์แบบดั้งเดิม, กลุ่มหาของป่า-ล่าสัตว์กึ่งสังคมหมู่บ้าน, กลุ่มสังคมหมู่บ้านเต็มรูปแบบ


 คำอธิบายภาพ : 1629535_3TdbU0RXw61656

 คำอธิบายภาพ : 200814Z912_18387026_a69a0628ac_o


ซาไก (มาเลย์ : Orang Asli ; โอรังอัสลี) เป็นมนุษย์โบราณอาจจะที่มีมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ประมาณ 1,500– 10,000 ปีมาแล้ว รูปร่างเตี้ยมีผิวดำ ฝีปากหนา ท้องป่อง น่องสั้นเรียว ผมหยิกเป็นก้นหอยติดศีรษะ ชาติพันธุ์นิกรอยด์ หรือเนกริโต ตระกูลออสโตร-เอเชียติก อยู่กระจายกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ราว 7-60 คน ในรัฐเกดะห์ มาเลเซีย ในส่วนลึกของนิวกินี ฟิลิปปินส์และหมู่เกาะอันดามัน เรียกตนเองว่า “มันนิ” (Mani) ส่วนผู้อื่นเรียกว่า เงาะ เงาะป่า ชาวป่า ซาแก หรือ โอรัง อัสลี (Orang Asli) หรือ กอย


 คำอธิบายภาพ : sa-gai_trang32

 คำอธิบายภาพ : 185b1427d50e3bc47496df9b4ed06304


การแบ่งกลุ่มชาวซาไก



สำหรับในภาคใต้ของประเทศไทยมีซาไกอยู่สี่กลุ่มรวมประมาณ 200 คน คือ

  • ซาไกกันซิว อยู่ในอำเภอธารโต จังหวัดยะลา
  • ซาไกยะฮาย อยู่ในอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
  • ซาไกแตะเดะหรือเยแด อยู่ บริเวณภูเขาสันกาลาคีรีแถบจังหวัดยะลาและอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
  • ซาไกแต็นเอ็น อยู่บริเวณเขาบรรทัดแถบคลองตง คลองหินแดง บ้านเจ้าพะและถ้ำเขาเขียด อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง(ประมาณ 100 คน) จังหวัดพัทลุงและจังหวัดสตูล
  • ซาไกที่อาศัยอยู่ที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ได้รับพระราชทานนามสกุลจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยใช้ชื่อสกุลว่า "ศรีธารโต"[2] แต่ปัจจุบันซาไกธารโตส่วนใหญ่ได้อพยพไปอยู่ในมาเลเซีย ด้วยเหตุผลด้านที่ทำกินและวิถีชีวิตที่ดีกว่า ประกอบกับเหตุผลด้านความไม่สงบ


     คำอธิบายภาพ : pic52ab5ca9e4ab9


ภาษาซาไก (Language and Linguistic Affiliations)



ภาษาซาไกมีต้นตระกูลมาจากภาษามอญ-เขมร เป็นภาษาในตระกูลออสโตร-เอเชียติค (Austro-Asiatic) เป็นภาษาคำโดด ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำเมื่อนำไปเข้าประโยค ข้อมูลจากหนังสือพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 5 เรื่อง เงาะป่า ระบุว่า ภาษาพูดของเงาะป่า เป็นภาษาก็อยแท้ มีคำใช้น้อย หางเสียงคล้ายภาษาอังกฤษและเยอรมัน แต่ไม่ครบทุกสำเนียง มีการใช้ภาษาไทยและมลายูปนค่อนข้างมาก ภาษาของซาไกในประเทศไทยมีอยู่ 4 ภาษาคือ ภาษากันซิว เป็นภาษาซาไกแถบ จ. ยะลา ภาษาแต็นแอ๊น เป็นภาษาซาไกแถบ จ. สตูล พัทลุง ภาษาแตะเต๊ะ เป็นภาษาซาไกแถบ อ.รือเสาะ อ. ระแงะ จ.นราธิวาส ภาษายะฮายย์ เป็นภาษาซาไกในแถบ อ.แว้ง จ. นราธิวาส ระบบเสียงมีเฉพาะหน่วยเสียงสระกับหน่วยเสียงพยัญชนะ ทำนองเสียงสูงต่ำไม่ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลงคำมูลเดิมเมื่อเข้าประโยคก็ใช้ตามนั้น โดยเรียงประธาน-กริยา-กรรม ตามลำดับ ภาษาซาไกไม่มีตัวอักษร มีแต่ภาษาพูด ทำให้มีแนวโน้มว่าภาษาเก่าอาจสูญหายในอนาคต เมื่อซาไกต้องติดต่อกับคนเมืองมากขึ้น ก็มักใช้ภาษามลายู และภาษาไทยเข้ามาปะปน (หน้า 130-132) ตัวอย่างคำศัพท์ในภาษาซาไก อ. ควนโดน จ. สตูล แบ่งได้ตามหมวดหมู่ดังนี้ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น บาเดว หมายถึง น้ำ ปาฌี หมายถึง ทราย (คำยืม) ติเอ๊ะ หมายถึง ดิน ตาฌิก หมายถึง ทะเล (คำยืม) บาแกต หมายถึง แดด บูวะ หมายถึง ลม ปายง,กาเจ๊ะ หมายถึง ดวงจันทร์ กะเฮิบ หมายถึง ป่า ลาแย หมายถึง รุ้งกินน้ำ ฮูยัน หมายถึง ฝน บาตุ๊ หมายถึง ก้อนหิน (คำยืม) อัฌ หมายถึง ห้วย ชนชาติต่าง ๆ เช่น ปาจิน หมายถึง คนจีน ฮาเป๊าะ เฌียม หมายถึง พวกคนไทย มานิ ฌาไก หมายถึง เงาะ ยาวิ หมายถึง คนมลายู อวัยวะต่าง ๆ เช่น โป หมายถึง คิ้ว ป่องแปง หมายถึง แก้ม กานิเอฌ หมายถึง ใจ จัฌ หมายถึง มือ อันเตง หมายถึง หู กุเก๊าะ หมายถึง เล็บ แม็ต หมายถึง ตา, หน้า กุย หมายถึง หัว สัตว์ต่าง ๆ บาฮอย หมายถึง ฟาน, ทราย ปลาโนก หมายถึง กระจง ตาโยก หมายถึง ลิงหางยาว ฌิตัย หมายถึง กระต่าย ปะลิก หมายถึง ค้างคาว เอ๊ะ ยานอง หมายถึง สุนัข ยอจ หมายถึง เสือดาว กาเวา หมายถึง นก เกอยะห หมายถึง ช้าง (คำยืม) มานุก หมายถึง แม่ไก่ ตากุ๊ก หมายถึง แร้ง วาวา หมายถึง เหยี่ยว ตะแก หมายถึง จิ้งจก ตุ๊กแก ยากอบ หมายถึง งู เครือญาติและสรรพนาม เบ๊าะ หมายถึง เธอ เฮ๊ะ หมายถึง เขา (หลายคน) ฮาเป๊าะ แยะ หมายถึง พวกฉัน ยัม หมายถึง เราทั้งหมด โต๊ะ หมายถึง ตา ปะแบ หมายถึง น้อง นะ หมายถึง แม่ เอย หมายถึง พ่อ วองกง หมายถึง เด็กหญิง เงอนะ หมายถึง เพื่อน ส่วนของต้นไม้-ดอกไม้ กะเบอะ หมายถึง ผล (ผลไม้) กะเตอะ หมายถึง เปลือก เอเยฌ หมายถึง รากแก้ว ฮะลิ หมายถึง ใบไม้ ฮะปอง หมายถึง ดอกไม้ นัทกอต หมายถึง ขอนไม้ ละแบะฮ หมายถึง ปล้อง (ไม้ไผ่) เฮาะ หมายถึง กะลา ลิเลียป หมายถึง ต้นไทร ฮะอิท หมายถึง กาฝาก กะลง หมายถึง พลูป่า บะถึง หมายถึง ไผ่ตง ว่านและสมุนไพร ตะดุก เป็นชื่อต้นไม้คล้ายข่า หยวก กินได้ (ชาวบ้านเรียกต้นปุด) กละดิ ชื่อบอนชนิดหนึ่ง ปิน ชื่อต้นไม้ ลำต้นสีแดง ใบสีเขียวใช้ทำยา พังพุง ชื่อต้นไม้สีแดง ใช้ทำยา (ชาวบ้านเรียกลูกจันทร์) ปะเดย พืชใช้ทำยาสำหรับผู้หญิงหลังคลอด จะโก ชื่อไพลใช้กันผี (ชาวบ้านเรียกหัวเปลาะ) วัปเวิป ชื่อต้นไม้ใช้ทำยา พืชผักผลไม้ ปะเฌิต หมายถึง เห็ด บุงคอง หมายถึง ลองกอง กะมัท หมายถึง ลูกเนียง ตัมบัง หมายถึง หน่อไม้ ติมุน หมายถึง แตงกวา ฮันเตา หมายถึง สะตอ ตะเพา หมายถึง มันเทศ ติลา หมายถึง มันสำปะหลัง ตันตง หมายถึง เงาะ ติมุน หมายถึง แตงโม ฌะบัป หมายถึง มะม่วง มังแฮง หมายถึง มะไฟ ยังกัม หมายถึง ระกำ ปะเฌท หมายถึง กล้วยป่า บะเจญ หมายถึง ทุเรียน นอกจากนี้ ยังมีคำศัพท์อีกหลายหมวดหมู่ที่ผู้ศึกษาได้รวบรวมไว้ อาทิ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ อาวุธ สุขภาพและโรคภัย อารมณ์ความรู้สึก ฯลฯ





ขอขอบคุณ @ ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต,  คลิป / มันนิ เงาะป่า ซาไก และ Sippachai Kunnuwong @ YouTube

Relate topics

Post new comment

« 6492
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง