ผู้พันแซนเดอร์ส (KFC) นักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้ A Man Who (Almost) Never Succeeded

by sator4u_team @22 ก.ค. 57 16:32 ( IP : 180...55 ) | Tags : ไลฟ์สไตส์
  • photo  , 1089x1600 pixel , 198,185 bytes.
  • photo  , 640x439 pixel , 118,122 bytes.

ผู้พันแซนเดอร์ส (KFC) นักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้ A Man Who (Almost) Never Succeeded




หุ่นชายแก่ที่เราเห็นบ่อยๆ เวลาผ่านร้านเคเอฟซี นั่นคือ ผู้ก่อตั้งเคเอฟซี ตั้งแต่ปี ค.ศ.1939 เขาชื่อว่า ฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส เกิดวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1890 มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน เป็นลูกชายคนโต เมื่อเขาอายุได้เพียง 6 ขวบ บิดาก็เสียชีวิต ทำให้แม่ต้องทำงานหนักเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวเพียงคนเดียว แซนเดอร์ส ยังเป็นเด็กน้อยอายุ 6 ขวบ ต้องรับภาระเลี้ยงดู น้องชายอายุ 3 ขวบ และน้องสาว ยังเล็กอยู่ เขาต้องทำงานบ้านทุกอย่าง รวมถึงทำอาหารเองด้วย แซนเดอร์ส มีความสามารถในเรื่องนี้มาก จนได้รางวัลชนะเลิศ ในการประกวด ทำอาหารประจำหมู่บ้าน ขณะที่อายุได้เพียง 7 ขวบเท่านั้น ซึ่งเป็นการฉายแววตั้งแต่เขายังเด็ก

แซนเดอร์สเริ่มรับจ้างทำงานครั้งแรก เมื่อมีอายุได้ 10 ปี โดยเริ่มจาก การทำงานในฟาร์มใกล้บ้านได้ค่าแรงเพียง เดือนละ 2 ดอลลาร์ และอายุได้ 12 ปี เขาก็ออกจากบ้าน ไปทำงานที่ฟาร์มในหมู่บ้านเฮนรี วิลล์ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้น ของชีวิตการทำงานหลาย ๆ อย่าง ที่เขาเคยทำ เช่น เป็นนักดับเพลิง ฝึกงานที่ศาล ขายประกัน ขายยาง ทำงานที่สถานีขนส่ง เมื่อพ่อของเขาเสียชีวิตตอนที่เขาอายุได้เพียงห้าขวบเขาต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ขณะอายุ 16 ปี และตอนอายุ 17 ปี เขาแสดงความสามารถพิเศษด้วยการตกงานติดต่อกันถึง 4 ครั้ง เขาแต่งงานตอนอายุ 18 ปี ปีถัดมาเขาได้เป็นพ่อคนแต่ชีวิตคู่ของเขาก็มีความสุขอยู่ได้ไม่นานนัก อายุ 20 ปี ภรรยาของเขาพาลูกสาวหนีไปเพราะทนใช้ชีวิตกับเขาไม่ได้ช่วงอายุ 18-22 ปี เขาประกอบอาชีพเป็นคนขายตั๋วรถไฟแล้วก็ล้มเหลวแต่เขาก็ยังต่อสู้กับชีวิต ด้วยการหาโอกาสให้ชีวิต แต่ทุกอย่างที่เขาทำก็ไม่วายล้มเหลวเหมือนเดิมเขาสมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพ แต่ก็ถูกขับออกมาหันเหมาสมัครเข้าโรงเรียนกฎหมาย แต่ด้วยความสามารถอันเอกอุเขาถูกปฏิเสธอย่างไม่ใยดีแล้วเขาก็ไปทำงานเป็น พนักงานขายประกัน แน่นอนที่สุดเขาล้มเหลวอีกครั้ง (แล้ว)

แค่เกริ่นมาข้างต้น ก็คงไม่ต้องบอกว่า ชายคนนี้ทำอะไรไม่ได้เรื่องเลยสักอย่าง! แต่ก็อย่างว่าแหละ คนเราอะไรมันจะไม่ได้เรื่องไปเสียหมดสิ่งเดียวที่เขาพบว่า เขาทำได้ดีก็คือการทำอาหาร ดังนั้นเขาจึงไปทำงานเป็นพ่อครัวและคนล้างจานในร้านกาแฟเล็กๆแห่งหนึ่ง แต่นั่นก็ไม่ใช่ชีวิตที่ทรงคุณค่าอะไรเลยในความคิดของเขา ชีวิตที่ร้านกาแฟเขามีเวลามากมายที่จะนั่งคิดและทำอะไรได้มากพอสมควร แต่เขากลับเลือกใช้เวลา นั่งคิดถึงภรรยาและลูกสาวของเขา เขาเพียรพยายามติดต่อภรรยาและอ้อนวอนให้เธอกลับมาใช้ชีวิตร่วมกันอีกครั้ง แต่ได้รับคำปฏิเสธ

เขาเปลี่ยนความคิดใหม่ เขาไม่ต้องการภรรยาอีกต่อไป ขอเพียงแต่ได้ลูกสาวกลับคืนมาก็พอ เพราะเขารักและคิดถึงเธอเหลือเกิน เขาใช้เวลาว่างในร้านกาแฟวางแผนในการนำลูกสาวกลับคืนมาสู่อ้อมอกของตน เขาวางแผนทุกขั้นตอนละเอียดยิบ คำนวณทุกฝีก้าวในที่สุดแผนการอันแสนยาวนานก็เสร็จสิ้นลงเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ คุณพ่อวัยรุ่นผู้น่าสงสารซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้นอกบ้านหลังเล็กๆของภรรยาของเขา เฝ้ามองลูกสาวของเขาเล่นอยู่หน้าบ้านและเตรียมพร้อมที่จะลักพาตัวเธอ! แล้ววันที่ตั้งใจไว้ก็มาถึงเขาซ่อนตัวอยู่หลังพุ่มไม้อย่างระมัดระวัง แม้จะรู้สึกกังวล ตื่นเต้น และตระหนกอยู่บ้าง แต่นั่นมิอาจเทียบได้กับความรักที่เขามีต่อลูก เขาตัดสินใจที่จะต้องลงมือทำให้สำเร็จ

แต่แล้วอนิจจา....

วันนั้นลูกสาวของเขาไม่ออกมาเล่นหน้าบ้านเลย แม้กระทั่งความพยายามในการก่ออาชญากรรม เขาก็ยังล้มเหลว เขารู้สึกเหมือนคนที่พ่ายแพ้ต่อโชคชะตา รู้สึกเหมือนคนไม่มีค่าและเหมือนพระเจ้ากำหนดมาแล้วว่าเขาจะต้องอยู่เพียงลำพังไปตลอดชีวิต แต่เหมือนปาฏิหาริย์ ในที่สุดเขาก็สามารถโน้มน้าวภรรยาให้กลับมาอยู่ด้วยกันได้ พวกเขาทำงานด้วยกันในร้านกาแฟแห่งนั้น ทำอาหารและล้างจานอยู่จนกระทั่งเขาเกษียณ ตอนอายุ 65 ปี

วันแรกของการเกษียณอายุ เขาได้รับเช็คเงินประกันสังคมฉบับแรกของเขา เป็นเงิน 105 ดอลลาร์ (ราวสี่พันบาท) เช็คดังกล่าวเหมือนเป็นตัวแทนของรัฐที่ฝากมาบอกเขาว่า เขาไม่อาจจะดูแลตัวเองได้อีกต่อไปแล้ว ทั้งหมดที่เขาทำได้ก็คือใช้ชีวิตอยู่จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยเงินสนับสนุนจากรัฐบาล มันไม่ใช่ครั้งแรกที่เขารู้สึกถูกปฏิเสธ ล้มเหลว เสียกำลังใจ และท้อแท้ ชีวิตของเขาได้รับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่งหลังจาก 65 ปี อันยาวนาน เขาบอกกับตัวเองว่า ถ้าเขาดูแลตัวเองไม่ได้ ต้องมีชีวิตอยู่โดยให้รัฐบาลดูแลเขาก็ไม่สมควรจะมีชีวิตอีกต่อไป เขาตัดสินใจ (อีกแล้ว) ว่า “จะฆ่าตัวตาย”

เขาหยิบกระดาษหนึ่งแผ่นกับดินสอหนึ่งแท่งนั่งลงใต้ต้นไม้ในสวนหลังบ้านอย่างสงบ ตั้งใจที่จะเขียนคำสั่งเสียและพินัยกรรมแต่แทนที่จะทำเช่นนั้น กลับเหมือนมีอะไรมาดลใจ เหมือนเป็นครั้งแรกที่ชีวิตเกิดปัญญาเขาเริ่มต้นเขียนสิ่งที่เขาควรจะเป็น ชีวิตที่เขาควรจะมี และสิ่งที่เขาปรารถนาในช่วงชีวิตสุดท้ายที่เหลืออยู่เขาตกใจมาก เมื่อค้นพบความจริงในชีวิตว่า เขายังไม่เคยทำอะไรสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันกับเขาสักอย่างเลย ! (เพิ่งนึกได้)

เขานั่งครุ่นคิดกับตัวเองอย่างจริงจัง มีบางอย่างที่เขาสามารถทำได้บางอย่างที่คนที่รอบตัวทำสู้เขาไม่ได้ ใช่ ! เขารู้วิธีปรุงอาหารชีวิตเกือบทั้งหมดของเขา อยู่ที่หน้าเตาร้อนๆ มาตลอด เขาตัดสินใจกับตัวเองอีกครั้งในที่สุดเขาเลือกที่จะมีชีวิตอยู่เพื่อทำอะไร สักอย่างในชีวิตให้ประสบความสำเร็จเขาตั้งใจว่าถ้าเขาจะตาย เขาก็อยากจะตายในแบบที่ได้ลองพยายามเป็นใครสักคนและทำบางสิ่งบางอย่างที่มี ค่าด้วยชีวิตที่เหลืออยู่น้อยนิดของเขาเขาลุกจากเงาไม้ มุ่งหน้าไปยังธนาคารในเมือง เพื่อขอยืมเงินจำนวน 87 ดอลลาร์จากเช็คประกันสังคมฉบับต่อไปของเขาด้วยเงิน 87 ดอลลาร์นั้น เขาซื้อกล่องเปล่าและไก่จำนวนหนึ่ง

จากนั้นเขาก็กลับไปที่บ้านและลงมือทอดไก่ที่ซื้อมาด้วยสูตรพิเศษที่เขาได้คิดค้นขึ้นมาในช่วงหลายปีที่ทำงานที่ร้านกาแฟนั้น เขาเริ่มขายไก่ทอดของเขาตามบ้านต่างๆ เริ่มทำอาหารจำหน่ายที่สถานีขนส่ง ในรัฐเคนตั๊กกี้ ปรากฏว่า อาหารที่เขาทำเป็นที่นิยมมาก แซนเดอร์ส จึงลาออกไปทำร้านอาหาร หลังจากนั้นอีก 9 ปี เขาได้คิดค้นสูตรการปรุงไก่ทอดด้วยส่วนผสมลับเฉพาะ จากเครื่องเทศ 11 ชนิด และใช้วิธีการทอดไก่แบบพิเศษ เพื่อรักษารสชาติ และความหอมอร่อย ของไก่ทอดไว้ ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดไก่ทอด สูตรต้นตำรับ เคเอฟซี แซนเดอร์ส และสร้างชื่อให้รัฐ เคนตั๊กกี้มาก ซึ่งผู้ว่าการรัฐจึงแต่งตั้งให้เขาเป็น ผู้พันแซนเดอร์ส เพื่อเป็นเกียรติให้เขา

แล้วคนขายไก่ทอดอายุ 65 ปีคนนั้นก็กลายมาเป็นผู้พันฮาร์แลนด์ แซนเดอร์สราชาผู้เป็นที่รักของอาณาจักร Kentucky Fried Chicken หรือที่เรารู้จักกันในนาม KFC นั่นเองตอนอายุ 65 ปี เขาเป็นเหมือนอนุสรณ์แห่งความล้มเหลวที่ยังมีชีวิต แต่ในวัย 85 ปีเขาก็กลายเป็นเศรษฐีพันล้านและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก มีผู้คนให้เกียรติเขาทั่วประเทศ จนถึงวันนี้เคเอฟซี ได้ขยายสาขา มากกว่า 29,500 แห่งใน 92 ประเทศทั่วโลก โดยมี หุ่นจำลองของผู้พันแซนเดอร์ส ตั้งอยู่หน้าร้านเหมือนเป็นเครื่องรับประกันถึงความอร่อยของไก่ทอด ตำหรับ KFC COLONEL SANDERS THE LEGENDARY CHICKEN EXPERT

เรื่องราวชีวิตของผู้พันแซนเดอร์ส เป็นอีกบทหนึ่งของเรื่องราวความสำเร็จที่ได้รับคำยกย่องจากผู้คนทั่วโลก แต่ใครจะรู้บ้างว่าหากใต้ต้นไม้วันนั้นผู้พันแซนเดอร์สได้ทำตามที่เขาตั้งใจ ไว้แต่แรกตำนานไก่ทอดสะท้านโลกก็คงจะไม่มีให้เราได้เห็นกัน จริงอย่างที่เขาว่า ความสำเร็จกับความล้มเหลวห่างกันเพียงแค่พลิกฝ่ามือมันอยู่ที่ว่าคุณเลือก ที่จะ “สู้ต่อ” หรือ “ยอมแพ้” สำหรับ ผู้พันแซนเดอร์ส 65 ปี ของชีวิตที่ล้มเหลว เทียบคุณค่าอะไรไม่ได้เลยกับ 20 ปีแห่งความสำเร็จแล้วชีวิตของคุณหละ ล้มเหลวมากพอหรือยัง ?


/////////////////////


KFC (Kentucky Fried Chicken)







เคเอฟซี (อังกฤษ: KFC) หรือ ไก่ทอดเคนทักกี (อังกฤษ: Kentucky Fried Chicken) เป็นธุรกิจอาหารจานด่วนในเครือยัม! แบรนด์ส อิงส์ มีต้นกำเนิดมาจากรัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา โดยอาหารหลักคือไก่ทอด ร้านแรกของเคเอฟซีเปิดเมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยผู้พันฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอส์ ที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในเมืองคอร์บิน รัฐเคนทักกี และเปิดร้านสัมปทานสาขาแรกเมื่อ พ.ศ. 2495 ในภายหลังเมื่อกิจการได้รับความนิยม ผู้พันแซนเดอส์จึงขายกิจการให้กับกลุ่มนักลงทุนอื่นในปี พ.ศ. 2505 ด้วยมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในภายหลังแบรนด์เคเอฟซีถูกซื้อกิจการโดยกลุ่มบริษัท PepsiCo ซึ่งได้แยกธุรกิจเกี่ยวกับอาหารออกมาเป็นบริษัท TRICON ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็น ยัม! แบรนด์ส อิงค์ ในปัจจุบัน

เคเอฟซีได้เปลี่ยนจากชื่อเต็ม "เคนทักกี้ฟรายชิคเก้น" มาเป็นชื่อย่อ "เคเอฟซี" เมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยให้เหตุผลว่าต้องการลดความสำคัญของคำว่า "ชิคเก้น" หรือ "ไก่" ลง เนื่องจากมีผู้ประท้วงเกี่ยวกับการใช้ไก่ดัดแปลงพันธุกรรมของ KFC เหตุผลอีกข้อหนึ่งคือต้องการทิ้งคำว่า "ฟราย" ซึ่งสวนกับกระแสสุขภาพในการลดการบริโภคของทอด อย่างไรก็ตาม ปี พ.ศ. 2548 เคเอฟซีเปิดร้านอาหารใหม่ในรัฐเคนทักกี้ ได้ใช้ชื่อว่า "เคนทักกี้ฟรายชิคเก้น" เช่นเดิม และมีแผนจะใช้ชื่อเดียวกันนี้ในอนาคต

เคเอฟซีเริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยกลุ่มเซ็นทรัล โดยมีสาขาแรกอยู่ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ต่อมาได้มีการเปลี่ยนเจ้าของกิจการบริษัทแม่มาเป็นบริษัท PepsiCo ซึ่งได้ดึงเครือเจริญโภคภัณฑ์มาร่วมดำเนินกิจการในประเทศไทยด้วย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงการการบริหารโดยมีเจ้าของหลักเป็นบริษัทยัม! แบรนด์ส อิงค์ ในประเทศไทยจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัทยัม! ประเทศไทย

ปัจจุบันเคเอฟซีมีสาขามากกว่า 500 แห่ง ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยแบ่งดำเนินการระหว่างเซ็นทรัลและเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยของทางเซ็นทรัล เรสเตอรองค์ กรุ๊ป ส่วนใหญ่จะเป็นสาขาในโรบินสัน เซ็นทรัล เซ็นทรัลพลาซา เซ็นทรัลเฟสติวัล เซ็นทรัลเวิลด์ บิ๊กซี และเทสโก้ โลตัส และของทาง ยัม! ประเทศไทย จะดำเนินการภายใต้ห้างขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเจ้าที่มีสาขามากที่สุดในประเทศไทย (เมื่อเทียบกับเซ็นทรัล) และยังเป็นเจ้าเดียวที่เปิดบริการส่งถึงบ้าน และอ้างว่ามีส่วนแบ่งตลาดถึง 49% ของธุรกิจฟาสต์ฟู้ดทั้งหมดในประเทศ








KFC (the name was originally an initialism for Kentucky Fried Chicken) is a fast food restaurant chain that specializes in fried chicken and is headquartered in Louisville, Kentucky, in the United States. It is the world's second largest restaurant chain (as measured by sales) after McDonald's, with 18,875 outlets in 118 countries and territories as of December 2013. The company is a subsidiary of Yum! Brands, a restaurant company that also owns the Pizza Hut and Taco Bell chains.

KFC was founded by Harland Sanders, an entrepreneur who began selling fried chicken from his roadside restaurant in Corbin, Kentucky, during the Great Depression. Sanders identified the potential of the restaurant franchising concept, and the first "Kentucky Fried Chicken" franchise opened in Utah in 1952. KFC popularized chicken in the fast food industry, diversifying the market by challenging the established dominance of the hamburger. By branding himself as "Colonel Sanders," Harland became a prominent figure of American cultural history, and his image remains widely used in KFC advertising. However, the company's rapid expansion saw it overwhelm the ageing Sanders, and in 1964 he sold the company to a group of investors led by John Y. Brown, Jr. and Jack C. Massey.

KFC was one of the first fast food chains to expand internationally, opening outlets in the United Kingdom, Mexico, and Jamaica by the mid-1960s. Throughout the 1970s and 1980s, KFC experienced mixed fortunes domestically, as it went through a series of changes in corporate ownership with little or no experience in the restaurant business. In the early 1970s, KFC was sold to the spirits distributor Heublein, who were taken over by the R.J. Reynolds food and tobacco conglomerate, who sold the chain to PepsiCo. The chain continued to expand overseas however, and in 1987 KFC became the first Western restaurant chain to open in China. The chain has since expanded rapidly in China, which is now the company's single largest market. PepsiCo spun off its restaurants division as Tricon Global Restaurants, which later changed its name to Yum! Brands.

KFC's original product is pressure fried chicken pieces, seasoned with Sanders' recipe of 11 herbs and spices. The constituents of the recipe represent a notable trade secret. Larger portions of fried chicken are served in a cardboard "bucket," which has become a well known feature of the chain since it was first introduced by franchisee Pete Harman in 1957. Since the early 1990s, KFC has expanded its menu to offer other chicken products such as chicken fillet burgers and wraps, as well as salads and side dishes, such as French fries and coleslaw, desserts, and soft drinks, the latter often supplied by PepsiCo. KFC is known for the slogan "finger lickin' good," which has since been replaced by "Nobody does chicken like KFC" and "So good."


//////////////////


ที่มาข้อมูล : นิตยสาร ACHIEVER Issue 05 / April – May 2013 , wikipedia.org

Relate topics

Post new comment

« 7267
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง