สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

Entrepreneurs ? ... รู้จักความหมาย และ 10 คุณสมบัติจำเป็น เพื่อสู่เส้นทางความสำเร็จของผู้ประกอบการใหม่!!!

by sator4u_team @8 ม.ค. 58 02:25 ( IP : 1...38 ) | Tags : ไลฟ์สไตส์

 คำอธิบายภาพ : Young-Entrepreneur-wowrack1


แนวคิดเรื่อง entrepreneurship มีอยู่มากมายหลายหลาก คำจำกัดความแบบสุดขั้วอันหนึ่งให้ไว้ว่า entrepreneur คือบุคคลที่มีทักษะอันเป็นพรสวรรค์อย่างสูง เป็นผู้บุกเบิกและนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลง โดยบุคลิกลักษณะกล่าว หาได้น้อยมากท่ามกลางฝูงชน ในขณะที่นิยามอีกสุดปลายขั้วหนึ่ง กล่าวถึง entrepreneur ว่า เป็นใครก็ได้ที่ต้องการทำงานเพื่อตัวเอง ก็จัดว่าเป็น entrepreneur แล้ว



Entrepreneurship ?




คำว่า entrepreneur มีต้นกำเนิดมาจากภาษาฝรั่งเศษ entreprendre หรือในภาษาอังกฤษ เรียกว่า "Entrepreneurship" ซึ่งหมายถึง "to undertake" ในบริบทของธุรกิจแปลว่า "การเริ่มต้นทำธุรกิจ" พจนานุกรม Merriam-Webster ได้ให้ความหมายของคำว่า entrepreneur ไว้ดังนี้ "บุคคลผู้ซึ่ง วางโครงสร้าง, จัดการ และ รับรู้ความเสี่ยงของธุรกิจหรือบริษัท"



สำหรับในภาษาไทย เราใช้คำว่า "ผู้ประกอบการ"  หมายถึง ผู้ที่คิดริเร่มดำเนินธุรกิจขึ้นมาเป็นของตนเอง มีการวางแผนการดำเนินงาน และดำเนินธุรกิจทุกด้านด้วยตนเอง โดยยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อมุ่งหวังผลกำไรที่เกิดจากผลการดำเนินงานของธุรกิจตนเอง






นอกจากนั้นก็มีนักเศรษฐศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงดังๆ อีกหลายคนได้ให้นิยามไว้มากมาย  และแตกต่างกันออกไปแต่จะขอคัดลอกนิยามที่  ดร. นิมิตร  นนทพันธาวาทย์  ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์  ที่มีชื่อเสียงของไทย ได้ไปบรรยายให้กับผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  ของโครงการพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรม  รุ่นที่ 1  จังหวัดสงขลา เมื่อปี 2528 ได้ให้ความหมายไว้อย่างชัดเจนดังต่อไปนี้



”ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมคือผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจ  ได้มองเห็นโอกาสที่จะทำกำไร  โดยการผลิตสินค้าชนิดใหม่ขึ้นมาเสนอขายในตลาดด้วยการนำเอาขบวนการผลิตใหม่ ๆ  ที่มีประสิทธิภาพ  ดีกว่าเดิมเข้ามาใช้  หรือด้วยการปรับปรุงองค์กรผู้ประกอบการอุตสาหกรรม  เป็นผู้แสวงหาเงินทุน  รวบรวมปัจจัยในการผลิตและการจัดการบริหารเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กล่าวมาข้างต้น”



มุมมองของ Schumpeter ต่อ Entrepreneurship นักเศรษฐศาสตร์ชาวออสเตรีย Joseph Schumpeter ได้ให้นิยามของ entrepreneurship โดยเน้นไปที่การสร้างสรรค์นวัตกรรม ดังตัวอย่าง



  ผลิตภัณฑ์ใหม่



  วิธีการผลิตแบบใหม่



  ตลาดใหม่



  โครงสร้างองค์กรใหม่



ความมั่งคั่งที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากนวัตกรรม จากมุมมองนี้ สามารถกล่าวว่า entrepreneur คือผู้ที่นำปัจจัยการรับเข้า (Input Factor) มากมายมาประกอบกันเพื่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมและสร้างเป็นมูลค่าออกสู่ผู้บริโภคด้วยความหวังว่า มูลค่าของมันจะมากกว่าต้นทุนของปัจจัยการรับเข้า ผลลัพท์คือ การสร้างผลกำไรที่งดงามและตามมาด้วยความมั่งคั่ง



Entrepreneurship vs. Small Business




หลายคนคิดว่า "entrepreneur" และ "เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก" เหมือนกัน เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างตรงกัน อย่างไรก็ตาม ยังมีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างคำสองคำนี้ และความต่างของ entrepreneur กับ small business มีอยู่ดังต่อไปนี้



1.) ปริมาณความมั่งคั่ง - จะต้องเป็นอะไรที่มากกว่าการสร้างรายรับแบบธรรมดาเหมือนที่เคยมีมา, entrepreneur ที่ประสบความสำเร็จจะต้องสร้างความั่งคั่ง, กล่าวโดยทั่วไป คือ ผลกำไรที่มากมายหลายล้านดอลล่าร์



2.) เวลาที่ใช้สร้างความมั่งคั่ง - ธุรกิจขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จจะมีกำไรหลายล้านดอลล่าร์ต้องใช้เวลาชั่วชีวิต, แต่สำหรับ entrepreneur ที่ประสบความสำเร็จแล้ว โดยปกติจะใช้เวลาน้อยมาก เช่น ภายใน 5 ปี



3.) ความเสี่ยง - ความเสี่ยงของ entrepreneur จะต้องสูง นอกจากนี้ต้องมีความมั่นใจในการสร้างผลกำไร และต้องให้แนวคิดและแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ



4.) การสรรค์สร้างนวัตกรรม - entrepreneur ส่วนมากจะต้องข้องเกี่ยวกับนวัตกรรมมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้เองทำให้ entrepreneur มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันอันจะนำมาซึ่งความมั่งคั่ง นวัตกรรมอาจเป็นตัวผลิตภัณฑ์หรือการบริการโดยตรง หรืออาจจะเป็นกระบวนการทางธุรกิจ






คำจำกัดความดังกล่าว  ทำให้เห็นว่าบุคคลที่จะเป็นผู้ประกอบการนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น  ขวนขวายที่จะเอาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ  มาผสมผสานด้วยหลักการจัดการ  ทำให้เกิดเป็นสินค้าแปลกใหม่  เกิดผู้บริโภคใหม่  มีการเสาะแสวงหาตลาด  หรือช่องทางที่ทำให้เกิดกำไร  เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งแปลก ๆ  ใหม่ให้กับสินค้าตัวเดิมอยู่เสมอ  หรือปรับปรุงกระบวนการผลิตเดิมให้ดีขึ้น  เกิดการลดต้นทุนการผลิต  ในการบริหารงานการจัดองค์กรโดยหาข้อบกพร่อง แล้วทำการปรับปรุงให้ดีขึ้น  ติดตามข่าวสารสถานการณ์ต่าง ๆ  ที่รุดหน้าอย่างรวดเร็วตลอดจนวิทยาการใหม่ ๆ ไปใช้ปรับปรุงให้ดีขึ้น เป็นบุคคลที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ และสามารถหาช่องทางที่จะสร้างธุรกิจของตนเอง และพร้อมที่จะรับความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ตั้งแต่ตัดสินใจที่จะเริ่มดำเนินธุรกิจ ในการประกอบธุรกิจขนาดย่อม ต้องการผู้ประกอบการที่มีความสามารถหลาย ๆ ด้านซึ่งอาจพิจารณาลักษณะผู้ปะกอบการจากพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้


1.)  มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative)  ในการเริ่มต้นธุรกิจ กล่าวคือ  เป็นคนที่มองเห็นโอกาสและช่องทางในการสร้างธุรกิจขึ้นมาภายใต้สภาพแวดล้อมต่าง ๆ



2.)  เรียนรู้หรือสร้างนวัตกรรม (Innovation) ของการดำเนินธุรกิจ อันจะก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์  หรือบริการรูปแบบใหม่ ๆ รวมถึงกระบวนการผลิต  การตลาด  และการจัดการทรัพยากร  เป็นต้น



3.) ยอมรับความเสี่ยง (Risk) อันอาจจะเกิดขึ้นจากการขาดทุนหรือล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความเป็นนักเสี่ยงอย่างมีหลักการ  คือตัดสินใจอย่างฉับไว และรอบคอบด้วยข้อมูลที่เชื่อถือได้



4.) มีความสามารถในการจัดการทั่วไป (General management)  ทั้งด้านการกำหนดแนวทางของธุรกิจและการจัดสรรทรัพยากร



5.) มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงาน (Performance  intention)  เพื่อสร้างความเจริญเติบโต และกำไรจากการดำเนินธุรกิจ






10 หลัก เพื่อสู่เส้นทางความสำเร็จ




การมีกิจการสักอย่างเป็นของตนเองอาจเป็นความใฝ่ฝันของใครหลายคน แต่คนล่าฝันจำนวนไม่น้อยกลับก้าวพลาดอย่างน่าเสียดาย เพราะมัวแต่ใส่ใจองค์ประกอบภายนอกมากกว่าองค์ประกอบภายในซึ่งใกล้ตัวมากที่สุดนั่นคือ "คุณสมบัติส่วนตัว" 



 คำอธิบายภาพ : entrepreneur-ideas


คุณสมบัติส่วนตัวของเจ้าของกิจการถือเป็นส่วนสำคัญเพราััะสามารถนำไปปรับใช้ต่อยอดธุรกิจได้ อีกทั้งยังเป็นเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จในการทำกิจการของบุคคลนั้นได้ค่อนข้างสูง ซึ่งคุณสมบัติเบื้องต้นที่สำคัญของผู้อยากเริ่มกิจการตัวเองมีดังต่อไปนี้



1.) รู้จักตนเอง


ดูว่าตนเองเป็นคนนิสัยอย่างไร เหมาะกับการทำงานแบบไหน






หากอยากให้กิจการประสบความสำเร็จในอนาคต คุณสมบัติแรกที่เจ้าของกิจการควรมีคือการ "รู้จักตนเอง" รู้ว่าสิ่งไหนคือสิ่งที่ตนเองต้องการ สิ่งไหนใช่ สิ่งไหนไม่ใช่ สำรวจความต้องการในจิตใจของตนเองเสียก่อนว่าลึกๆ แล้วอะไรคือความต้องการพื้นฐานที่เรามองหาอยู่อย่างแท้จริง นอกจากนี้แล้วการรู้จักตนเองยังหมายถึงการเข้าใจว่าตัวเองมีบุคลิกภาพและนิสัยอย่างไร เช่น บางคนวาดฝันอยากทำกิจการเกี่ยวกับทำบริษัทโฆษณา แต่กลับล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า เพราะอุปนิสัยใจคอเป็นคนอารมณ์ร้อนโกรธง่าย ไม่เหมาะกับการวงการโฆษณาซึ่งเราต้องคอยเอาใจลูกค้าตลอดเวลา



2.) ความรู้


ความรู้ คือ คุณสมบัติพื้นฐานสำคัญที่สุด ซึ่งผู้คิดอยากสร้างกิจการของตนเองจำเป็นต้องมี

เพราะความรู้เปรียบเสมือนใบเบิกทางในการริเริ่มสร้างกิจการให้ประสบความสำเร็จ โดยความรู้ที่สำคัญที่เจ้าของกิจการควรมีประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการทำกิจการและความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับกิจการที่จะทำ ซึ่งความรู้ที่ดีคือสิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ในการบริหารกิจการได้อย่างเหมาะสมและมีประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาได้ตลอดเวลา จึงไม่เป็นปัญหาหากผู้ที่ต้องการจะเริ่มประกอบกิจการไม่มีความรู้และประสบการณ์ในบางเรื่องมาก่อน เพราะสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมและค่อยๆ เรียนรู้ได้


3.) ความคิดสร้างสรรค์

สิ่งต่างๆ บนโลกล้วนได้มีผู้ทดลองทำมาหมดแล้ว ดังนั้นผู้มีความคิดสร้างสรรค์จึงค่อนข้างจะได้เปรียบในการเริ่มสร้างกิจการแนวใหม่ขึ้นมา






เพราะเราสามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาเพิ่มความน่าสนใจให้กับกิจการได้ อีกทั้งยังอาจสร้างกระแสดึงดูดกลุ่มลูกค้าให้เข้ามาทดลองซื้อสินค้าและบริการของเรามากขึ้น แต่หากเราทำสินค้าและบริการแบบเดิมๆ ก็อาจต้องเสียเงินค่าโฆษณามากมายโดยเช่นเหตุ อาจถือได้ว่าความคิดสร้างสรรค์อาจเป็นการโฆษณาตัวเองเลยก็เป็นได้ ดังนั้นหากมีไอเดียสร้างสรรค์เด็ดๆ ก็อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรทำมาพัฒนาต่อยอดกิจการจะดีกว่า


4.) ความกล้าและความเป็นผู้นำ

ความกล้าทำอะไรแปลกใหม่ก็อาจนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆเช่นเดียวกัน






ความกล้าในที่นี้หมายถึงความกล้าในเรื่องการตัดสินใจลงมือทำในเรื่องต่างๆ เพราะในโลกของธุรกิจมีการแข่งขันสูงและไม่มีใครยอมใคร ผู้มีความกล้าเท่านั้นจึงจะสามารถอยู่รอดได้ในการทำกิจการ ทั้งเรื่องของความกล้าตัดสินใจในเรื่องแนวทางการทำธุรกิจที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน อาทิ ความกล้าในการแจกซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือฟรีของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือรายหนึ่งจนกลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่และยังสร้างฐานลูกค้าได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย นอกจากนี้ความเป็นผู้นำยังมีส่วนสำคัญสำหรับเจ้าของกิจการเช่นกัน เพราะจะช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความศรัทธาและความน่าเชื่อถือซึ่งจะเป็นผลดีต่อระบบปกครองภายในบริษัท และจะกลายมาเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการในที่สุด



5.) ความรักในสิ่งที่ทำ

การที่กิจการจะประสบความสำเร็จได้ส่วนหนึ่งต้องมาจากตัวเจ้าของกิจการเองมีใจรักในสิ่งดังกล่าวเสียก่อน






ความรักในสิ่งที่ทำจะช่วยให้เจ้าของกิจการพยายามศึกษาหาความรู้เพื่อนำมาพัฒนาสร้างสรรค์ต่อยอดกิจการของตนเองให้ออกมาดีที่สุด โดยปราศจากความเหน็ดเหนื่อยและเบื่อหน่ายซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้กิจการไม่อาจเจริญก้าวหน้า



6.) ความพยายามและอดทน

กิจการที่ล้มเหลวจำนวนมาก มักมีสาเหตุมาจากการขาดความพยายามและอดทนของตัวเจ้าของกิจการเอง






หลายครั้งหลายโอกาสเราต้องอาศัยความพยายามอดทนมากเป็นพิเศษ อาทิ การขายงานให้ลูกค้า การขายสินค้าและบริการให้ผู้บริโภค หากปราศจากซึ่งความอดทนแล้วละก็ สิ่งต่างๆ เหล่านี้คงเป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จ



7.) ความประหยัด

เป็นการสร้างรูปแบบการบริหารเงิน "ใช้เงินเป็น" และเป็นตัวอย่างที่ดี






ธุรกิจคือเรื่องของการใช้เงิน ดังนั้นหากคิดริเริ่มทำกิจการ เจ้าของกิจการควรต้องมีคุณสมบัติประหยัดอยู่บ้างไม่มากก็น้อย หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าใช้เงินเป็น เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้เราสามารถควบคุมดูแลให้ใช้จ่ายเฉพาะสิ่งจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ทั้งยังเป็นการสร้างรูปแบบการบริหารเงินในองค์กรและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้องในการเบิกใช้เงินกองกลางด้วย



8.) ความมีไหวพริบ ปฎิภาณ

ธุรกิจคือการแข่งขันกันตลอดเวลา คุณสมบัติเรื่องไหวพริบและปฏิภาณจึงเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เจ้ากิจการจำเป็นต้องมี






ผู้มีไหวพริบเป็นเลิศและช่างสังเกตจะรู้ว่าเวลาไหนคือโอกาสเปิดเกมรุกเพิ่มยอดขาย เวลาไหนมีโอกาสเพลี่ยงพล้ำต่อคู่แข่ง หรือควรถอยห่างและรีบหาทางออกให้กิจการของตนเอง เจ้าของกิจการที่ดีควรมีไหวพริบเพื่อช่วยให้กิจการสามารถอยู่รอดปลอดภัยต่อไปได้



9.) เงินทุน

หากกิจการใดขาดไร้ซึ่งเงินทุนแล้วละก็ กิจการนั้นก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้






เงินทุนเป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้ประกอบการต้องมี ถือเป็น 1 ใน 10 ของคุณสมบัติจำเป็นของผู้ประกอบการเลยด้วย หากกิจการใดขาดไร้ซึ่งเงินทุนแล้วละก็ กิจการนั้นก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้ หรือหากเกิดขึ้นแล้วก็อาจขาดสภาพคล่องในการบริหารเงิน ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนครบตามจำนวนมูลค่าของกิจการที่ต้องการสร้างก็ได้ ขอเพียงแต่ให้มีเงินทุนจำนวนหนึ่งบ้างเท่านั้น ส่วนเงินที่ขาดไปก็สามารถกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนอย่างธนาคารก็ได้ เพียงแต่ว่าผู้ประกอบการซึ่งมีเงินทุนพร้อมอยู่แล้วจะได้เปรียบในบางเรื่อง อย่างเช่น การขอกู้เงินจากธนาคาร ทางธนาคารอาจพิจารณาให้วงเงินกู้กับผู้ประกอบการซึ่งมีเงินทุนมากกว่าเพราะมีความเสี่ยงเรื่องหนี้สูญน้อยกว่าผู้ประกอบการที่ไม่มีเงินทุนเลย



10.) การสนับสนุน และกำลังใจจากคนรอบข้าง

บุคคลรอบข้างจะช่วยในด้านกำลังใจในการทำงาน ช่วยเหลือเรื่องเงินทุน รวมถึงคำแนะนำเมื่อเกิดปัญหา






คุณสมบัตินี้คือคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างสุดท้ายที่เจ้าของกิจการขั้นเริ่มต้นพึงมี การมีผู้สนับสนุนโดยเฉพาะบุคคลรอบข้างจะช่วยในด้านกำลังใจในการทำงาน นอกจากนี้ยังอาจได้รับความช่วยเหลือเรื่องเงินทุนเมื่อเกิดภาวะขาดสภาพคล่อง คำแนะนำเมื่อเกิดปัญหา และยังอาจได้ฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ผ่านการแนะนำจากกลุ่มคนที่ให้การสนับสนุนเราก็เป็นได้




การสำรวจคุณสมบัติเบื้องต้นที่เจ้าของกิจการหน้าใหม่พึงมีก่อนเริ่มลงมือสร้างกิจการถือว่ามีความจำเป็นมาก เพราะหากเราขาดคุณสมบัติใดคุณสมบัติหนึ่งไปอาจเปรียบเสมือนมีช่องโหว่และจุดอ่อน แต่นั้นก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่เกินแก้ไข หากเราต้องมีความเพียรพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม ขยันใฝ่รู้และฝึกฝนตนเองเพื่อเติมเต็มช่องว่างนั้นให้เต็มก่อนจะเริ่มสร้างกิจการในฝันของตัวเองให้เป็นความจริง



ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กประสบความสำเร็จ




เมื่อเปรียบเทียบโอกาสหรือความได้เปรียบทางการแข่งขันระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดเล็กแล้ว  จะพบว่าธุรกิจขนาดใหญ่จะได้เปรียบและมีโอกาสมากกว่าเสมอ  อย่างไรก็ตามธุรกิจขนาดเล็ก  ก็สามารถเผชิญหน้ากับปัญหาดังกล่าว และดำรงอยู่รอด  พร้อมทั้งสร้างความเจริญเติบโตได้  ด้วยการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน



การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ธุรกิจขนาดเล็กสามารถต่อสู้กับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ด้วยการสร้างศักยภาพให้ตนเองมีความได้เปรียบทางการแข่งขันได้  โดยอาศัยองค์ประกอบต่อไปนี้



1.) มีความยืดหยุ่น  (Flexiblity)  จากข้อจำกัดของธุรกิจขนาดใหญ่ที่แม้ว่า  จะได้เปรียบธุรกิจเล็ก  ในด้านการผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก  ด้วยต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ต่ำกว่า แต่ก็ไม่อาจปรับเปลี่ยน การผลิตได้อย่างรวดเร็วเมื่อความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง  เพราะการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้งต้องจ่ายค่าใช้จ่ายสูง  ไม่คุ้มทุน  ในขณะที่ธุรกิจขนาดย่อมสามารถปรับตัวได้รวดเร็วกว่า ในการที่จะสนองความต้องการเฉพาะ ของลูกค้าด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า  ฉะนั้นผู้ประกอบการจะต้องรู้จักใช้โอกาสนี้



2.)  สร้างนวัตกรรม  (Innovation)  นวัตกรรมในการผลิตหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์  มักมีจุดเริ่มต้นมาจาก นักประดิษฐ์อิสระ และจากกิจการขนาดเล็กในขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ มักจะพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว  ซึ่งมีพื้นฐานการประดิษฐ์คิดค้น  จากผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กให้ดีกว่าเดิม  และพยายามทำกำไร หรือหาผลตอบแทน จากการลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์ และ โรงงาน  ผู้ประกอบกิจการขนาดเล็กจำเป็นต้องสร้างนวัตกรรม  หรือสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นด้วย  จึงจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้



Small Business Administration  (SBA)  (Hatten 1997 : 18) แบ่งออกเป็น  4  ประเภท  คือ



นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product  innovation) เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ รวมถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดีกว่าเดิม



นวัตกรรมบริการ  (Service innovation) เสนอบริการที่แตกต่างและดีกว่าเดิมหรือเหนือกว่าคู่แข่งขัน



นวัตกรรมกระบวนการ  (Process innovation)  เป็นการคิดค้นกระบวนการใหม่ ๆ ทั้งการผลิตสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น



นวัตกรรมการบริหารจัดการ (Management innovation)  เป็นการคิดหาวิธีการ จัดการที่มีประสิทธิภาพใหม่ ๆ เพื่อจัดการกับทรัพยากรของกิจการให้ได้ประโยชน์สูงสุด



3.)  สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า  (Close  Relationship to Customers) ในเมื่อธุรกิจขนาดเล็กอยู่ใกล้ชิดกับลูกค้า  จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน  ด้วยการสร้างสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า  และเสนอสินค้าและบริการพิเศษให้เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า



4.)  ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ  (Product  Quality)  ภายใต้สภาพการแข่งขันอย่างรุนแรงของธุรกิจ  วิธีที่จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กประสบความสำเร็จได้  จะต้องผลิตสินค้าหรือบริการ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานในระดับที่ลูกค้า ต้องการ ในราคาที่เต็มใจจะจ่าย  โดยผู้ประกอบการจะต้องรักษาคุณภาพให้มีความสม่ำเสมอ  ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าพอใจ และต้องการ มากกว่าผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน  ดังนั้น  ผู้ประกอบการจะต้องสร้างคุณภาพในตัวสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานเพราะไม่เพียงแต่ จะรักษาลูกค้าเดิมได้ยังเป็นการเพิ่มลูกค้าใหม่ได้อีกมาก นอกจากนี้ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ  ถึงสิ่งที่จะทำให้สามารถ ดำเนินการให้ประสบความสำเร็จได้  คือ



ขนาดของตลาดมีมากพอที่จะสร้างกำไรได้เพียงใด



มีเงินทุนหรือแหล่งเงินทุนเพียงพอเพียงใด



สามารถเสาะหาพนักงาน  หรือลูกจ้างที่มีประสิทธิภาพได้หรือไม่  รวมถึงรักษาลูกจ้างที่ดีไว้ในองค์การต่อไปได้อย่างไร



มีข้อมูลที่ถูกต้อง  เชื่อถือได้เพียงใด





แรงบัลดาลใจ!!! ...ผู้ประกอบการตัวอย่าง







มุ่งมั่นในสิ่งที่ดี เพื่อครอบครัวและคนรัก - ภัทรา ศิลาอ่อน ผู้ก่อตั้ง เอส แอนด์ พี



ต้นกำเนิดของ “เอส แอนด์ พี” เริ่มในปี พ.ศ.2516 จากร้านไอศกรีมเล็ก ๆ ในซอยโรงเรียน สาธิต ประสานมิตร ผู้หญิง ที่เป็นแม่บ้านธรรมดา ๆ คนหนึ่ง ที่ไม่คาดหวัง ว่า กิจการร้านขาย ไอศกรีมโฟร์โมสต์ ที่มีเมนูอาหารง่าย ๆ ไม่เกิน 10 อย่าง อาหารจานเด็ดของร้านสมัยนั้น หลายคนอาจจำได้ คือ วุ้นเส้นผัดไทย ต่อเมื่อความนิยมมากขึ้น มีการ ขยับขยาย กิจการสาขา ร้านอาหารออกไป ใหญ่โต กลายเป็นร้านอาหารและเบเกอรี่ S&P ซึ่งก็ได้มีการปรับปรุง และพัฒนา ตลอดมา






กล้าเปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน! - โก๊ะตี๋ อารามบอย






ชีวิต คือ การสู้ - คุณต๊อบ เถ้าแก่น้อย






ไม่มีตัน - ตัน ภาสกรนที






เรียบเรียงโดย เวสท์สงขลา @ สะตอฟอร์ยูทีม



///

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 0259
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง