5 เทรนด์เปลี่ยนโลก "การตลาดและโฆษณา" นักการตลาดต้องรู้ !! | Brand Buffet

by sator4u_team @18 ก.ค. 57 01:56 ( IP : 180...55 ) | Tags : ไลฟ์สไตส์
photo  , 797x493 pixel , 65,971 bytes.

มร. โลอิส เจคอบส์ CEO  บริษัท Landor Associates กล่าวว่า ในด้านการตลาด อะไรเป็นเพียงกระแสชั่วข้ามคืน อะไรเป็นตัวสร้างผลกระทบอย่างจริงจัง ไม่ใช่เรื่องที่จะดูออกกันง่ายๆ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนผู้เชี่ยวชาญการตลาดระดับสูงที่ Landor จึงอยากให้คุณได้รู้จักกับ 5 เทรนด์สำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดรูปร่างหน้าตาของอุตสาหกรรมในอนาคตอันใกล้

1. Big Data: รู้ก่อนได้เปรียบกว่า

Big Data คือสิ่งที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ Big Data โดยสรุปก็คือข้อมูลที่มี 3 ลักษณะสำคัญๆ คือ มีปริมาณมาก  มีรูปแบบไฟล์ที่หลากหลาย และมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและรวดเร็ว เบธ คอมสต็อก หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ GE ได้ให้ความเห็นไว้ว่า ถ้าคุณไม่ชอบข้อมูล คุณจะไม่ชอบเรื่องของอนาคต1 ทุกวันเราจะได้อ่านหัวข้อใหม่ๆ

เกี่ยวกับความสำคัญของ Big Data ว่าช่วยให้เราสามารถติดตามเส้นทางของผู้บริโภค สร้างความภักดีต่อแบรนด์สินค้า ช่วยให้คาดการณ์พฤติกรรมของผู้บริโภคได้แม่นยำขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือช่วยผลักดันยอดขาย นี่คือประโยชน์จากการมี Big Data แต่มีน้อยคนที่พร้อมจะใช้ประโยชน์จากมัน เมื่อเร็วๆนี้ IBM ได้ทำกรณีศึกษาในกลุ่มของผู้บริหารระดับสูงพบว่า

82 เปอร์เซ็นต์ของหัวหน้าฝ่ายการตลาดไม่มีความพร้อมในการรับมือกับข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว

และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา2ทำให้นักการตลาดต้องเร่งสปีดในการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆก่อนใครๆให้ได้มากที่สุด ซึ่งมีทั้งการสร้างทีมภายในบริษัท (In-house) หรือการร่วมมือกับหุ้นส่วนธุรกิจจากภายนอก

บริษัท T-Mobile USA ได้ร่วมมือกับคู่ค้าทางธุรกิจที่เชี่ยวชาญด้าน Big Data เพื่อรวบรวมข้อมูลลูกค้าจำนวนมหาศาลไว้ในมือ จากนั้นนำมาวิเคราะห์โดยแบ่งออกเป็นส่วนของข้อมูลลูกค้า บล็อก ข้อมูลด้านการใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมถึงการเข้าถึงโซเชียลมีเดียต่างๆ ทำให้บริษัทฯสามารถแยกแยะได้ว่าลูกค้ากลุ่มไหนมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปใช้บริการกับบริษัทอื่น การมีข้อมูลแบบเจาะลึกและครอบคลุมทำให้ T-Mobile สามารถลดปริมาณการย้ายค่ายของลูกค้าลงถึงครึ่งหนึ่งในแต่ละไตรมาส3

 

2. พัฒนารูปแบบค้าปลีกเพื่อต่อกรกับพฤติกรรม Showrooming”

Showrooming” คือพฤติกรรมของผู้บริโภคที่สร้างความยากลำบากให้กับร้านค้าปลีกอย่างมาก ทุกวันนี้นักช็อปยังคงแวะเวียนไปตามร้านค้าปลีกเพื่อสัมผัสและทดลองสินค้าด้วยตัวเอง เสร็จแล้วก็จะสั่งซื้อสินค้านั้นๆ ผ่านช่องทางออนไลน์เพราะราคาถูกกว่า ไม่ก็ไปเช็คราคาที่ร้านอื่นๆเพื่อให้ได้ราคาที่ถูกใจที่สุด ร้านค้าปลีกในวันนี้จึงพยายามปรับเปลี่ยนร้านให้มีความน่าสนใจเพื่อมอบประสบการณ์ไม่ธรรมดาให้กับลูกค้าที่มาเยี่ยม ทำให้ลูกค้ารู้สึกเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มอีกสักเล็กน้อยเพื่อซื้อสินค้าในร้าน ซึ่งร้านค้าปลีกแนวนี้กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วในปัจจุบัน

 

หนึ่งตัวอย่างที่น่าเรียนรู้คือ BMW ซึ่งรู้ว่าลูกค้าของตนต้องการบริการมีคุณภาพสูงขึ้นจากบรรดาดีลเลอร์ จึงได้คิดค้นวิธียกระดับดีลเลอร์ให้มีความน่าสนใจทั้งในแง่ของคุณภาพและความดึงดูดใจ ทำให้เกิด BMW Brand Store ดีลเลอร์ที่ได้รับการปรับเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ขึ้นใหม่ที่กรุงบรัสเซลส์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและมอบประสบการณ์แปลกใหม่

ที่ตอบสนองประสาทสัมผัสรอบด้านให้กับลูกค้าผู้มาเยือนโดยไม่ยัดเยียดการขายให้ต้องรู้สึกอึดอัดใจ 4  ไฮไลต์ในแต่ละทัชพอยท์จะเป็นเรื่องของการแต่งรถ คุณลักษณะต่างๆ ประวัติความเป็นมา และบริการหลังการขาย นับเป็นดีลเลอร์แนวใหม่ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกเต็มอิ่มจนไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับที่อื่น

 

3. จากแนวคิดสู่การลงมือปฏิบัติ

นับตั้งแต่ยุค 70 เป็นต้นมา ผู้นำมักจะใช้เพียงวาจาในการบอกว่าองค์กรของตนมีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ด้วยการนำมาเป็นแนวคิดขององค์กรแต่กลับให้การสนับสนุนบ้างเพียงครั้งคราว ทว่าในช่วงหลายปีมานี้กลยุทธ์ CSR ที่แท้จริงกำลังขึ้นสู่กระแสสูง บริษัทต่างๆได้ประสานแนวทางในเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน แล้วนำไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

ไม่ได้เป็นเพียงกลยุทธ์สร้างภาพลักษณ์สินค้าอีกต่อไป

 

ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ Google Green แม้ว่าอุตสาหกรรมประเภทเทคโนโลยีจะก้าวล้ำไปมากขนาดไหนก็ตาม แต่สินค้าเหล่านี้ก็ยังต้องพึ่งพาการใช้พลังงานอย่างมากมาย ซึ่งหมายถึงทรัพยากรธรรมชาติต้องถูกทำลายไปไม่น้อย

บริษัท Google Green ตระหนักในเรื่องนี้จึงได้สร้างเว็บที่ชื่อว่า Better for the environment” ขึ้น โดยลงทุนกับพลังงานทดแทนและโปรเจคต์ต่างๆที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการใช้บริการ Cloud และศูนย์ข้อมูล รวมถึงเซิร์ฟเวอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้ Google สามารถให้บริการต่างๆ  อย่าง Search, Gmail, Chrome, Drive และ YouTube ให้กับผู้ใช้บริการตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือนโดยใช้พลังงานพอๆกับการขับรถเพียงหนึ่งไมล์เท่านั้น5

 

4. บรรจุภัณฑ์ใส่ใจส่ิงแวดล้อม

บรรจุภัณฑ์ที่ลูกค้าถืออยู่ในมือคือสื่อประเภทหนึ่งซึ่งสะท้อนภาพลักษณ์หรือนโยบายขององค์กร ทุกวันนี้ผู้บริโภคใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทำให้แบรนด์สินค้าต้องให้ความสำคัญต่อมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ของตนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ เช่น บริษัท Method ได้ประกาศตัวใช้บรรจุภัณฑ์ทำจากขยะพลาสติกในทะเล ส่วนโคคา-โคล่าก็หันมาใช้ขวดที่ทำจากไบโอเรซิ่น เป็นต้น  แบรนด์สินค้าอื่นๆอาจเลือกใช้วิธีลดการบรรจุหีบห่อ บ้างก็ลดพื้นที่ในการขนส่ง รวมถึงลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์)

บริษัทอย่างพร็อคเตอร์แอนด์แกมเบิลประกาศลดการใช้วัสดุในบรรจุภัณฑ์ผงซักฟอกลงถึง 50% สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง Tide Pods โดยมีให้เลือกทั้งแบบกล่องและถุงพลาสติกเนื้อเบาโดยแบบกล่องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือดัดแปลงไปเป็นข้าวของอื่นๆได้

ตามความคิดสร้างสรรค์ ทำให้ Pods ทำยอดขายได้สูงถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐในปีแรกที่ออกสู่ตลาด เป็นตัวอย่างของการให้ผู้บริโภคเป็นผู้ประทับตรารับรองว่าสินค้านั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม

 

 

5. การเข้าถึงความจริงและโซเชียลมีเดีย

แม้ว่าหลักการพื้นฐานของการสร้างแบรนด์สินค้าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่บทบาทของผู้จัดการแบรนด์ในยุคของโซเชียลมีเดียจะมีความซับซ้อนมากขึ้น เพราะนอกจากจะต้องจัดการกับสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีอยู่อย่างเต็มมือแล้ว วันนี้ผู้จัดการแบรนด์ยังจะต้องสร้างเนื้อหา (Contents) อย่างต่อเนื่องสำหรับสื่อหลักๆ

รวมถึงสื่ออื่นๆ ทุกรูปแบบที่มีอยู่ในสังคม ยิ่งกว่านั้นโซเชียลมีเดียยังเปลี่ยนโลกของเราให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ทำให้เราได้เห็นมุมมองของผู้คนกันตรงๆ แบบไม่ผ่านการคัดกรอง ไม่ว่าจะเป็นมุมมองเกี่ยวกับธุรกิจ สินค้า รวมถึงการตลาด แบรนด์สินค้าที่ฉลาดจะเลือกใช้ประโยชน์จากช่องทางนี้ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับแบรนด์ของตนในรูปแบบการสื่อสารที่เข้าถึงตัวผู้บริโภคโดยตรงและเป็นกันเอง

 

ธุรกิจค้าปลีกเสื้อผ้าของสหรัฐอเมริกาอย่าง J.Crew คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความเหนือชั้นของการใช้โซเชียลมีเดีย ด้วยการตอบสนองความต้องการของแฟนคลับคนหนึ่งซึ่งตั้งบล็อกขึ้นมาเพื่อขอให้ J.Crew กลับมาผลิตชุดว่ายน้ำรุ่นโปรดของเธอซึ่งหยุดผลิตไปแล้วอีกครั้ง Jenna Lyons ครีเอทิฟไดเร็คเตอร์ของ J.Crew รับปากเธอว่าจะหาทางให้ สองเดือนต่อมาชุดว่ายน้ำที่ว่านี้ก็ได้ปรากฏตัวในโฆษณาหน้าคู่ใน New York Magazine พร้อมข้อความถึงแฟนคลับสาวผู้เรียกร้องให้ชุดว่ายน้ำรุ่นนี้กลับมาว่า ความต้องการของคุณคือคำสั่งการที่ฉันต้องทำ&อย่างมีเหตุผล ด้วยรัก Jenna” ความใส่ใจของJ.Crew ไม่เพียงทำให้ลูกค้ารายนี้ประทับใจเท่านั้น แต่ยังเป็นการ PR ที่เหนือชั้นมาก ทำให้เกิดกระแสความชื่นชมจากสังคมอย่างรวดเร็ว สามารถครองพื้นที่สื่อได้อย่างกว้างขวาง7

 



เกี่ยวกับ Landor Associates

หนึ่งในบริษัทผู้นำระดับโลกที่ปรึกษากลยุทธ์เกี่ยวกับแบรนด์และการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์อย่างครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่แนะนำเรื่องกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ โครงสร้างแบรนด์ หลักการคิด ชื่อแบรนด์ การออกแบบเอกลักษณ์องค์กร

บรรจุภัณฑ์ องค์ประกอบแวดล้อมของแบรนด์ รวมถึงการประสบการณ์ร่วมที่ดีระหว่างลูกค้ากับแบรนด์

 

จากอดีตสู่ปัจจุบัน Landor มีลูกค้ารายสำคัญในไทยและระดับโลกที่มอบความไว้วางใจมากมาย อาทิเช่น

PTT,Thai Airways, S&P, Astra International, Bank Danamon, BP, FedEx, GE, Hong Kong Telecom,

Microsoft, PepsiCo, Proton, Singapore Airlines และ Taj Hotels Resorts and Palaces.

 

Landor เป็นบริษัทในเครือเดียวกับ Young & Rubicam Group ภายใต้การบริหารของ WPP องค์กรด้านการสื่อสารและการตลาดชั้นนำระดับโลก

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.landor.com

////////////////////////////

Cr. // brandbuffet.in.th

Relate topics

Post new comment

« 7267
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง