สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

เทคนิคปลูกแตงกวาระดับเซียน!

แตงกวา หรือ แตงร้าน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (ตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-45 วัน แตงกวาสามารถนำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิดเช่น แกงจืด ผัด กินกับน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง




 คำอธิบายภาพ : IMG_20150509_165912


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


แตงกวามีรากแก้ว แตกแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถามีขนขึ้นมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร มีหนวดเกาะบริเวณข้อโดยส่วนปลายของหนวดไม่มีการแตกแขนง ใบมีก้านใบยาว 5 – 15 เซนติเมตร ใบหยาบมีขนใบ มีมุมใบ 3 ถึง 5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่มี เส้นใบ 5 – 7 เส้น ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวผู้เป็นดอกเดี่ยว ผลแตงกวามีลักษณะเรียวยาวทรงกระบอก มีใส้ภายในผล ความยาวระหว่างผล 5- 40 เซนติเมตร


ฤดูกาลที่เหมาะสม

แตงกวาเป็นพืชเถาเลื้อย ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือ ให้การเจริญเติบโตทางลำต้นอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน และติดผลในระยะเริ่มฤดูหนาวจะให้ผลผลิตดี ในฤดูร้อนบางช่วงอาจจะพบปัญหาดอกร่วง  ทำให้ผลผลิตลดลง สำหรับฤดูหนาว  ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส แตงกวาจะมีอาการชะงักการเจริญเติบโต


ประโยชน์


แตงกวามีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 96 จึงมีคุณสมบัติแก้กระหาย และเพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยการกำจัดของเสียตกค้างในร่างกาย นอกจากนี้แตงกวามีสารอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ วิตามินซี กรดคาเฟอิก กรดทั้ง 2 นี้ป้องกันการสะสมน้ำเกินจำเป็นในร่างกาย เปลือกแตงกวามีกากใยอาหาร และแร่ธาตุจำเป็น เช่น ซิลิกา โพแทสเซียม โมลิบดีนัม แมงกานีส และแมกนีเซียม


ซิลิกาเป็นแร่ธาตุที่เสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น และกระดูก ปริมาณ เส้นใย ธาตุโพแทสเซียมและแมงกานีส ในเปลือกแตงกวาช่วยควบคุมความดันเลือดและความ สมดุลของสารอาหารในร่างกาย ธาตุแมกนีเซียมช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และระบบการไหลเวียนโลหิต เส้นใยอาหารควบคุมระดับคอเลสเตอรอล และช่วยระบบขับถ่ายโดยมีพลังงานต่ำเหมาะ กับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก


แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ทนทานต่อสารมลพิษอินทรีย์แต่สามารถส่งเสริมการย่อยสลายสารพิษในไรโซสเฟียร์ได้ดี โดยสามารถส่งเสริมการย่อยสลาย เอนโดซัลแฟน ซัลเฟต[4] แอนทราซีนและฟลูออรีนได้


ปลูกโดยใช้เคมี




อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโตได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส


แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากแต่ขาดน้ำไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ควรมีความเป็นกรด ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ในสภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัด จำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้น ควรจะวิเคราะห์หาค่าความต้องการปูนก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ใน ปริมาณที่เหมาะสม


การเตรียมดิน ก่อนการปลูกแตงกวา ไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทำลายวัชพืช และศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออก แล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่ แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไป ปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกำหนดระยะระหว่างต้น ประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ใส่ปุ๋ยรองพื้นในบางแหล่งอาจใช้ พลาสติกคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลงไม่ให้เข้ามาทำลายแตงกวาได้


การเตรียมพันธุ์ ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์ นับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปลูกแตงกวา ซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้


การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือ มีการบรรจุหีบห่อ เมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้น หรืออากาศ จากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมี เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทำการทดสอบความงอกก่อน


การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 ต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสำหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป


ทำการบ่มเมล็ด โดยนำเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ ผสมอัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อทำลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนำมาแช่น้ำ 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น บ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตร จึงนำไปเพาะต่อไป


การหยอดเมล็ดลงถุง นำเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จำนวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร


การดูแลรักษากล้า หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว ให้น้ำทันที โดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปริมาณน้ำที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อน ควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้น้ำทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระ ทบต้นกล้ามากเกินเกินไปเมื่อแตงกวา เริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกำจัดโดยเร็ว และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ จะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก


การปลูกโดยไม่ใช้ค้าง


การปลูกโดยใช้ค้าง สำหรับแตงกวาบางชนิด การปลูก วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น


สำหรับการย้ายกล้าปลูกนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด จากนั้นนำต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวด ล้อมได้ดียิ่งขึ้น


การให้น้ำ หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้น และใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้น คือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้


การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้


ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตราประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร พรวนดิน


 คำอธิบายภาพ : pic5617df2c01e8f

 คำอธิบายภาพ : pic5617df2c0259a


โรคและแมลง ที่สำคัญ


1) โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่า “โรคใบลาย”

เชื้อสาเหตุ :  Peronospora cubensis

ลักษณะอาการ :

เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ

แผลลามไปทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกน้ำค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทำให้มีความชื้นสูง

ในบริเวณปลูก จะพบว่าใต้ใบตรงตำแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดำ

การป้องกันกำจัด :

คลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมีเอพรอน

หรือริโดมิลเอ็มแซดก่อนปลูกหรือจะนำเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายน้ำเจือจางเป็นเวลา 3 ชั่วโมงก็ได้

เมื่อมีโรคระบาดในแปลงและในช่วงนั้นมีหมอกและน้ำค้างมาก ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ยาไซเนบ  มาเนบ

ไม่ควรใช้ยาเบนโนมิล หรือยาเบนเลท เพราะไม่สามารถกำจัดโรคนี้ได้  ซึ่งควรฉีด Curzate M8, Antrachor

สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อ  ต้นที่เป็นโรคให้ตัดใบและกำจัดต้นที่เป็นโรคออกไปทำลายโดยการเผา


2) โรคใบด่าง (Mosaic)

เชื้อสาเหตุ : Cucumber mosaic virus

ลักษณะอาการ :

ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบตะปุ่มตะป่ำ      มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ

ใบหงิกเสียรูปร่าง ยอดที่แตกใหม่จะมีสีซีดและอาการ่างมากขึ้น ใบจะมีขนาดเล็ดลง มีรูปร่างผิดปกติ

ติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

การป้องกันกำจัด :

ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด

ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส

อาจทำได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทำความสะอาดแปลงปลูกพร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้

สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและแมลงพาหะ  การติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วเพราะมีการปลูกที่ระยะใกล้กันมาก

แมลงจะเป็นพาหะนำเชื้อนี้จึงควรป้องกันด้วยการไม่ปลูกชิดกันจนเกินไป

เมื่อพบต้นที่แสดงอาการให้รีบถอนแยกเสียทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นอันขาด


3) โรคผลเน่า (Fruit rot)

เชื้อสาเหตุ :  Pythium spp., Rhizoctonia solani, Botrytis cinerea

ลักษณะอาการ :

มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทำให้เกิดแผลก่อน จะพบมากในสภาพที่เย็นและชื้น

กรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉ่ำน้ำเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุม

กรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ๊อกโทเนียจะเป็นแผลเน่าฉ่ำน้ำบริเวณผิวของผลที่สัมผัสดิน

แผลจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้น บริเวณส่วนปลายของผลที่เน่า

จะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่

การป้องกันกำจัด :

ทำลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล


4) โรคราแป้ง (Powdery mildew)

เชื้อสาเหตุ : Oidium sp.

ลักษณะอาการ :

มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่เป็นหย่อม ๆ กระจายทั่วไป

เมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย

มักพบการระบาดในสภาพที่มีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสัมพัทธ์ภายในอากาศต่ำ

การป้องกันกำจัด :

ควรป้องกันก่อนการระบาด ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเขื้อราในกลุ่มของ      ไดโนแคป ในอัตรา 30 กรัม / น้ำ

20 ลิตรเมื่อพบอาการเริ่มแรก หลังจากนั้นฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน หรือฉีดพ่นด้วยสารละลายกำมะถัน ในอัตรา 30 กรัม / น้ำ 20

ลิตร แต่ต้องพ่นในเวลาเย็นหรืออากาศไม่ร้อน เป็นต้น หรือเมื่อว่ามีการระบาดควรฉีดพ่นด้วย เบนเลท  เดอโรซาล

Diametan หรือ Sumilex


5) เพลี้ยไฟ (Thrips: Haplothrips floricola)

ลักษณะ :

เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอก และผลอ่อน

การทำลาย :

ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทาง

ระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา

การป้องกันกำจัด : ให้น้ำเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก โดยให้น้ำเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น

จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้

ใช้สารฆ่าแมลง : คาร์โบฟูราน ได้แก่ ฟูราดาน 3 จี หรือ คูราแทร์ 3 จี 1 ช้อนชาต่อหลุม    ใส่พร้อมกับการหยอดเมล็ด

จะป้องกันได้ประมาณ 2 สัปดาห์ กรณีที่เริ่มมีการระบาดให้ใช้สารฆ่าแมลง พวก โมโนโครโตฟอส เมทโธมิล อะบาเม็กติน

ฟอร์มีทาเนท พอสซ์เมซูโรล แลนเนท ไดคาร์โซล ออลคอล อะโซดริน โตกุไทออน หรือทามารอน ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

เป็นต้น


6) เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii)

ลักษณะ :

เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลำตัว  2 ท่อน

เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเหลืองอมเขียว รูปร่างคล้ายรูปไข่ มีปากยื่นยาวไปใต้ส่วนอก

เมื่อโตขึ้นจะมีสีคล้ำเป็นสีเขียวอมเทา ตัวแก่สีดำและมีปีกบินได้ ระยะตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้ใช้เวลา 5-41 วัน

ตลอดชีวิตตัวเต็มวัยตัวหนึ่งๆสามารถออกลูกได้ 15-450 ตัว

การทำลาย :

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทำให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนำไวรัสด้วย

มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ โดยมีมดเป็นตัวนำหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่

บริเวณที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายจะค่อยๆมีสีเหลืองจนในที่สุดจะมีสีเหลืองซีดและหลุดร่วงหล่นจากต้น

การเจริญเติบโตของพืชจะหยุดชะงัก

นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนของพืชที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายอาจมีราดำเกิดขึ้นและเมื่อราดำระบาดมากๆปกคลุมส่วนยอดและใบ

อ่อนก็จะทำให้กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชดำเนินไปได้ยาก มีผลทำให้การเจริญเติบโตของพืชไม่เป็นไปตามปกติ

การป้องกันกำจัด : ถ้าพบต้นที่มีเพลี้ยอ่อนระบาดทำลายให้ถอนแล้วนำไปทำลายโดยการเผาไฟ

ถ้าระบาดมากอาจใช้ยาป้องกันกำจัดมลงฉีดพ่น ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงเช่นเดียวกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ


7) ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.)

ลักษณะ :  ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง

การทำลาย :

ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทำให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทำลายร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน

มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ

การป้องกันกำจัด : ใช้สารเคมีกำจัดไร ได้แก่ เคลเทน ไตรไทออน หรือ โอไมท์ เป็นต้น


8) เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills)  และ  เต่าแตงดำ (Black cucurbit beetle: A. frontalis)

ลักษณะ :

เป็นแมลงปีกแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดำเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม.

อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนา หรือตามกอหญ้า

การทำลาย :

กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโต

ทำให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้น ตัวหนอนกัดกินราก

การป้องกันกำจัด:

ควรทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว  ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เซฟวิน

คาร์โบน๊อกซี-85 หรือ ไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น  ฟูราดาน 3 จี หรือคูราแทร์ 3 จี

ใส่หลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ      2 สัปดาห์


9) หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring caterpillar : Helicoverpa armigera)

ลักษณะ :

หนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมีเส้นแถบสีขาวตามยาว 2

เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมีขนาดใหญ่กว่า

ลำตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลดำ มีรอยต่อปล้องชัดเจน

การทำลาย : กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผลและเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทำลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า

การป้องกันกำจัด :  ใช้สารเคมี เช่น อโซดริน แลนเนท ทามารอน โตกุไทออน บุก หรือ อะโกรน่า เป็นต้น


ปลูกแบบอินทรีย์ หรือ ไม่ใช้สารเคมี




การผลิตพืชอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตพืชที่พื้นที่ที่ใช้ในการผลิตนั้นไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่มีการใช้ปัจจัยการผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์ พันธุ์พืชตัดแต่งพันธุกรรม เน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการใช้วัสดุที่ได้จากธรรมชาติหมุนเวียนในไร่นา รวมถึงการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสดีต่อประเทศไทย เพราะว่ายังมีการใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมี ทั้งปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอยู่ในอัตราต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทำให้มีศักยภาพในการผลิตพืชอินทรีย์ แต่การขยายตัวของเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยเป็นไปค่อนข้างช้ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ที่เป็นผู้นำการเกษตรที่ใช้สารเคมีการเกษตรแต่ขณะนี้ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการเกษตรอินทรีย์ที่ก้าวหน้า เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป และออสเตรเลีย ฯลฯ ทั้งๆ ที่ประเทศดังกล่าวน่าจะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงเสียดทาน และต่อต้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์มากกว่าประเทศไทย เนื่องจากมีบริษัทที่ผลิตสารเคมีการเกษตร ซึ่งมีผลประโยชน์มากมายอยู่ในประเทศต่างๆ ดังกล่าว สาเหตุที่เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยพัฒนาไปได้ช้ามาก ส่วนหนึ่งเกิดจากตัวเกษตรกรเองที่เคยชินกับการใช้สารเคมีทางการเกษตร ด้วยเกรงว่าหากจะผลิตแล้วผลผลิตอาจจะลดลงส่งผลให้รายได้ลดลง รวมทั้งการค้นคว้าวิจัยการเกษตรของประเทศไทยที่ผ่านมา ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของเทคโนโลยีการเกษตรแบบแยกส่วน เน้นการเพิ่มผลผลิตแบบใช้ปัจจัยที่ได้จากการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ เนื่องจากการปรับเปลี่ยนสู่ระบบอินทรีย์ในระยะแรก ผลผลิตของพืชจะลดลง


การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเขตกรรม โดยศึกษาระยะปลูก และการจัดการต้นเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพในการผลิตแตงกวาอินทรีย์ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตของพืชได้ โดยทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษก่อน หลังจากนั้นนำผลการทดลองที่ได้ผลดีไปทดสอบในไร่เกษตรกรที่มีการผลิตพืชในระบบอินทรีย์ โดยใช้วิธีการผลิตแตงกวาอินทรีย์ของเกษตรกรเป็นวิธีการเปรียบเทียบ เพื่อทดสอบหาวิธีที่เหมาะสม และจะได้นำเทคโนโลยีที่ได้รับไปถ่ายทอดสู่เกษตรกรผู้สนใจต่อไป การผลิตแตงกวาอินทรีย์ โดยใช้เมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสม ทำการทดลอง 2 ฤดูกาล คือ ในฤดูหนาวและฤดูฝน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 - กันยายน 2552 ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี


ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ปี 2549 - 2550 ประกอบด้วยวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้


วิธีที่ 1 คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.3x0.8 ม.+2 ต้น/หลุม

วิธีที่ 2 คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.3x0.8 ม.+1 ต้น/หลุม

วิธีที่ 3 คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.5x0.8 ม.+2 ต้น/หลุม

วิธีที่ 4 คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.5x0.8 ม.+1 ต้น/หลุม

วิธีที่ 5 ไม่คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.3x0.8 ม.+2 ต้น/หลุม

วิธีที่ 6 ไม่คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.3x0.8 ม.+1 ต้น/หลุม

วิธีที่ 7 ไม่คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.5x0.8 ม.+2 ต้น/หลุม

วิธีที่ 8 ไม่คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.5x0.8 ม.+1 ต้น/หลุม


ทำการทดลองที่ไร่เกษตรกร จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2551 – 2552 ประกอบด้วยวิธีการ ดังนี้


วิธีที่ 1 คลุมแปลง ระยะปลูก 0.30 x 0.80 เมตร (ระยะต้น x ระยะแถว) ปลูก 2 ต้นต่อหลุม เป็นวิธีแนะนำ


วิธีที่ 2 คลุมแปลง ระยะปลูก 0.50 x 0.75 เมตร ปลูก 3 ต้นต่อหลุม เป็นวิธีเปรียบเทียบ


การปลูก จะปลูกแถวคู่ แบบหยอดเมล็ดในแปลง และไม่ทำค้าง

การเตรียมแปลงปลูก ใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ได้แก่

ปุ๋ยมูลไก่ไข่ อัตรา 2 ตัน/ไร่ * พื้นที่แปลงขนาด 1x 10 เมตร ใช้ 12.5 กก.

ปุ๋ยมูลค้างคาว อัตรา 100 กก./ไร่

ปูนโดโลไมท์ อัตรา 200 กก./ไร่

หินภูเขาไฟ อัตรา 20 กก./ไร่

เชื้อไตรโคเดอร์มา อัตรา 50 กรัม/หลุม

หลังปลูก 1 เดือน ใส่ ปุ๋ยมูลไก่ไข่ อัตรา 1 ตัน/ไร่


การป้องกันกำจัดโรคและแมลง พ่นเชื้อบาซิลลัส ซับติลิส เพื่อป้องกันโรคทางใบ พ่นเชื้อบาซิลลัส ทูริงเยนซิส เมื่อพบการระบาดของหนอน ตารางแสดงผลผลิต (ตัน/ไร่)


 คำอธิบายภาพ : pic5617df2c02bc4


สรุปผลการทดลองการปลูกแตงกวาอินทรีย์


การคลุมแปลงด้วยฟางข้าว ให้ผลผลิตรวมทั้งหมดของแตงกวาสูงกว่าการไม่คลุมแปลงสถิติ และให้ผลผลิตที่ได้มาตรฐานสูงกว่าการไม่คลุมแปลง การคลุมแปลงด้วยฟางข้าวโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว จะช่วยรักษาความชื้นในดินได้เป็นอย่างดี ส่วนในฤดูฝนการคลุมแปลงและไม่คลุมแปลงให้ผลผลิตแตงกวาไม่แตกต่าง แต่มีแนวโน้มว่า การคลุมแปลงให้ผลผลิตสูงกว่าไม่คลุมแปลงตามค่าเฉลี่ย ดังนั้น การปลูกแตงกวาอินทรีย์ในช่วงฤดูฝน ไม่มีความจำเป็นต้องคลุมแปลงปลูก เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทั้งค่าฟางข้าวและแรงงาน
จำนวนต้นต่อหลุม ในฤดูหนาว ระยะปลูกที่เท่ากัน การปลูก 2 ต้นต่อหลุม ให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูก 1 ต้นต่อหลุม สำหรับในช่วงฤดูฝน จำนวนต้นต่อหลุมไม่มีผลต่อผลผลิตของแตงกวา ดังนั้น การปลูกแตงกวาอินทรีย์ในช่วงฤดูฝน สามารถลดจำนวนต้นต่อหลุม เพื่อลดต้นทุนการผลิตของค่าเมล็ดพันธุ์ ระยะปลูก พบว่า ในจำนวนต้นที่เท่ากัน ทั้งคลุมแปลงและไม่คลุมแปลง และในทุกช่วงฤดูกาลผลิต การปลูกระยะระหว่างต้น 0.3 เมตร ให้ผลผลิตสูงกว่า ระยะระหว่างต้น 0.5 เมตร การผลิตแตงกวาอินทรีย์ในไร่เกษตรกร ในฤดูหนาว ถ้าเกษตรกรไม่สามารถดูแลรักษาแปลง โดยเฉพาะการให้น้ำเพื่อรักษาความชื้นในดินได้เพียงพอ การปลูกแตงกวาในระยะชิดอาจไม่เหมาะสม แต่การปลูกวิธีแนะนำ โดยใช้ระยะปลูก 0.30 x 0.80 เมตร และปลูก 2 ต้นต่อหลุม มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูง ให้รายได้และผลตอบแทนต่อปีสูงที่สุด ในการผลิตแตงกวาอินทรีย์ ดินจะมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น มีปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน เปอร์เซ็นต์โพแทสเซียมในรูปที่เป็นประโยชน์ และเปอร์เซ็นต์ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น


ขอขอบคุณ @ chilliseedsthailand , wikipedia , thongthaiseeds , ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ , รูป @ yimwanorganichouse

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 7931
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง