สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

เกลือ ฆาตรกรอำมหิต ฆ่าคนทั่วโลก ไปแล้วร่วม 2 ล้านชีวิต

by sator4u_team @18 ส.ค. 57 12:20 ( IP : 113...110 ) | Tags : สุขภาพ , เกลือ , สุขภาพ
photo  , 600x450 pixel , 61,368 bytes.

วารสารการแพทย์ “นิว อิงแลนด์” เปิดโปงว่า เกลือได้ฆ่าคนด้วยโรคหัวใจทั่วโลกลงไปเกือบ 1.65 ล้านคน เนื่องจากการกินเค็ม

การสำรวจจากคนชาติต่างๆ 187 ชาติ ทำให้ทราบผลว่า เฉลี่ยแล้วคนเรากินเกลือกันเป็นปริมาณวันละ 3.95 กรัม เค็มเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกตั้งเกณฑ์ไว้เกือบ 2 เท่า เฉพาะอย่างยิ่งชาวอินเดีย กินมากถึงวันละ 7.6 กรัม ยิ่งเค็มปี๋หนักกว่าชาวโลกเสียอีก ชาวภารตะพากันเป็นโรคความดันโลหิตสูง มากกว่าที่จะเป็นโรคเบาหวาน

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ประกาศเตือนตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วว่า “เกลือหรือโซเดียมเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและอัมพฤกษ์อัมพาต”


อันตรายที่มองไม่เห็น

เราทราบมานานแล้วว่าการบริโภคเกลือมากเกินไปไม่ดีต่อร่างกาย และเราควรลดการบริโภค มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจและโรคอื่น ๆ ได้ หลายคนยังไม่เข้าใจ และมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังบริโภคเกลือมากเกินไปจนเป็นอันตราย

"ตามปกติการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด เปิดช่องให้เราได้รับเกลือได้สะดวกที่สุด ทั้งทั้งให้สารอาหารจำเป็นไม่ครบถ้วน" เอียน มาร์เบอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการของ Health Plus กล่าว "อาหารมากมายเหล่านี้มีเกลือและน้ำตาลมากเกินไป"

The Food Agency (FSA) แนะให้ทานเกลือไม่เกินวันละ 6 กรัม แต่ข้อมูลจากกรมสุขภาพระบุว่า คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มบริโภคเกลืออย่างน้อยวันละ 9 กรัม และโดยมากบริโภคเกินกว่านั้น ขณะเดียวกันเกลือก็จำเป็นต่ออาหาร และมีความสำคัญต่อการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ที่จริงเราจำเป็นต้องได้รับเกลือแค่วันละ ? กรัม เพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ได้เป็นปกติ การบริโภคมากเกินไปก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย

ถ้าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง คุณก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดมากขึ้นถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่บริโภคในปริมาณปกติ ลำพังในประเทศอังกฤษ มีคนเสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า 170,000 คนต่อไป ไมเพียงแค่นั้น การบริโภคเกลือมากเกินไปเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร กระดูกพรุน หอบหืด และน้ำหนักตัวเพิ่ม ทำให้อาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน (PMS) รุนแรงมากขึ้น


อันตรายที่ซุกซ่อนอยู่ ?

มีหลักฐานมากมายที่สนับสนุนให้ลดการบริโภคเกลือ และทางที่ดีควรเริ่มจากการคำนวณว่าเกลือ 6 กรัม มีอัตราส่วนเท่าไร คิดง่ายๆ เกลือ 1 ช้อนชา มีค่าประมาณ 5 กรัม แต่เป็นเรื่องยากที่จะวัดว่าเกลือที่คุณกินมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากอาหารส่วนมากมักมีเกลือซ่อนอยู่ ถ้าอาหารใดมีรสจืด ๆ อาจเป็นไปได้ว่ามีเกลืออยู่น้อย เนื่องจากในอุตสาหกรรมอาหารจะเติมเกลือลงไป เพื่อเพิ่มรสชาติ อาหารสำเร็จรูปที่มีชื่อส่วนใหญ่มีเกลืออยู่เป็นจำนวนมาก นี่จัดเป็นวิธีที่ถูกที่สุดในการเพิ่มรสชาติให้อาหาร และช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์ที่วางขายอยู่บนชั้นวาง

ผู้ผลิตอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจาก 80% ของเกลือที่กินมาจากอาหารที่ผ่านการแปรรูป ไม่ใช่มาจากเกลือที่เราโรยในอาหาร นักโภชนาการเตือนว่าเกลือที่ซ่อนในอาหารนี่เองที่เป็นต้นตอของปัญหา

เมื่อเร็ว ๆ นี้ FSA ได้ทดสอบอาหารปรุงสำเร็จประเภทลาซานญ่าเพื่อสุขภาพ สำหรับรับประทานคนเดียว อันที่จริงไม่น่าจะเรียกว่าอาหารเพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น พบว่ามีเกลืออยู่ 3.6 กรัม (หรือ 60% ของปริมาณที่แนะนำให้ทานในแต่ละวัน) และถึงแม้จะมีฉลากบอกว่าเป็น "อาหารเพื่อสุขภาพ" ซึ่งแม้จะทำให้เป็นอาหารไขมันต่ำ แต่ก็มีการเติมเกลือในปริมาณมากเพื่อเพิ่มรสชาติ

การทดสอบยังดำเนินต่อไป โดยสุ่มตัวอย่างจากอาหารปรุงสำเร็จได้แก่ เชพเพิร์ดพาย (shepherd’s pie) และนักเกตไก่ จากผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ และซูเปอร์มาร์เก็ตที่ผลิตสินค้าภายใต้ชื่อยี่ห้อของตัวเอง ผลที่ได้สร้างความตื่นตระหนกอย่างยิ่ง จนมีการเรียกร้องไห้ลดปริมาณเกลือในอาหารปรุงสำเร็จเหล่านี้


คุณบริโภคเกลือมากน้อยแค่ไหน

อาหารประจำวัน มันฝรั่งทอด : 3.1 กรัมต่อ 200 กรัม ถั่วอบกรอบ : 2.98 กรัมต่อ 225 กรัม ขนมปังขาว 2 แผ่น : 1 กรัม นักเกดไก่ 6 ชิ้น : 1.3 กรัม สปาเกดดี : 2 กรัมต่อ 210 กรัม Deep crust pizza : 4.1 กรัมต่อ 225 กรัม แซลมอนรมควัน : 5 กรัมต่อ 112 กรัม คอร์นเฟล็กซ์ : 1 กรัมต่อ 40 กรัม เชดดาร์ซีส (cheddar cheese) 1 กรัมต่อ 60 กรัม

อาหารที่มองว่ามีประโยชน์... ซูซิ : 3 กรัมต่อ 145 กรัม เฟต้าซีส (Feta cheese) : 1.8 กรัมต่อ 60 กรัม คอดเทจซีส (cottage cheese) : 0.2 กรัมต่อ 60 กรัม รานซีเรียล (Bran cereal) : 0.91 กรัมต่อ 40 กรัม โยเกิร์ต : 0.13 กรัมต่อ 100 กรัม Fromage frais (ครีมชีสชนิดหนึ่ง) : 0.1 กรัมต่อ 100 กรัม ซีอิ๊ว : 1 กรัมต่อ 5 กรัม ครีมสเปรดทานตะวัน (Suntlower spread) : 0.17 กรัมต่อ 10 กรัม ถั่วแดงหลวงในน้ำเกลือ : 1 กรัมต่อ 200 กรัม


ทำไมต้องกังวลว่าจะกินเกลือมากเกินไป ?

มีงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า สารโซเดียม หรือ เกลือ เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง มีผลร้ายแรงอย่างต่อเนื่องกับโรคหัวใจ และอัมพฤกษ์

โดย Jaen Brody นักเขียนและโภชนากร เขียนถึงเกลือไว้ในหนังสือ Nutrition Book หนังสือขายดีติดอันดับของเธอว่า ในเลือดมีปริมาณโซเดียมอยู่ถึง 40 % โซเดียมเป็นส่วนประกอบสำคัญในร่างกายมนุษย์ผสมอยู่ในของเหลวในร่างกาย หากร่างกายมีปริมาณโซเดียมสูงเหมือนน้ำทะเลที่เค็มจัด ร่างกายจำเป็นต้องการน้ำมาก เพื่อทำให้ความเค็มอยู่ในระดับที่สมดุล

และโซเดียมคลอไรด์ เป็นตัวบังคับสำคัญที่จะกำหนดความสมดุลของน้ำที่ทำละลายสสารต่างๆ นอกเซลล์ นอกเหนือจากนั้นยังทำหน้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ และชีพจรด้วย เมื่อระบบการดูดซึมผิดปกติ อาจทำให้ระบบการทำงานดังกล่าวผิดปกติ และเกิดอาการร้ายแรงต่อสภาพร่างกายได้

คุณอาจคาดไม่ถึงว่าเกลือในปริมาณที่มากเกินความต้องการจะมีผลร้ายแรงต่อร่างกายขนาดไหน และส่งผลไปถึงโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไร Dr.Marlelo Agama นักฟิสิกซ์ชาวฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ไตเป็นอวัยวะที่ช่วยในการปรับระดับโซเดียมในร่างกายคนเรา เมื่อปริมาณโซเดียมสูงเกินไป ไตจะขับถ่ายออกมา ในทางกลับกันถ้าร่างกายต้องการโซเดียม ไตจะทำงานโดยดูดสสารนั้นกลับสู่เลือด แต่เมื่อใดที่ไตทำงานผิดปกติไม่สามารถขับโซเดียมได้ในปริมาณที่เหมาะสม จนร่างกายมีปริมาณโซเดียมสะสมสูง น้ำในร่างกายก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น นั่นหมายถึงว่าระดับเลือดก็จะสูงขึ้นด้วย เมื่อปริมาณเลือดสูงขึ้น เลือดต้องวิ่งผ่านไปยังเส้นเลือดมากขึ้น เป็นผลให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งหัวใจก็ต้องสูบฉีดหนักขึ้น เพราะปริมาณเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้น

นอกจากผลต่อความดันโลหิตแล้ว ปริมาณโซเดียมที่มากเกินความต้องการของร่างกายจะทำให้ปริมาณน้ำของเนื้อเยื่อภายในและภายนอกเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาการบวม หรือปริมาณของเหลวในร่างกายที่มากเกินไปทำให้เกิดอาการเส้นเลือดคั่ง และหัวใจวายได้


การค้นพบที่น่าสนใจยิ่ง

มีการสำรวจพบว่า แทบจะไม่มีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในบริเวณที่ไม่นิยมใช้เกลือในการปรุงอาหาร นักวิจัยชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัย Harvard ศึกษาประชากรที่อาศัยอยู่ในเกาะ Solomon แถบหมู่เกาะทะเลใต้ ประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณภูเขา ไม่นิยมปรุงอาหารด้วยเกลือ ไม่พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผลสำรวจแบบเดียวกันที่แคว้น Akita ทางเหนือของประเทศญี่ปุ่น ประชากรในบริเวณนั้นนิยมใช้เกลือในการถนอมอาหาร ในแต่ละวันพวกเขารับประทานเกลือปริมาณ 3 ½ – 6 ช้อนชา เหตุนี้เองทำให้พบว่าประชากรส่วนใหญ่เสียชีวิตด้วยโรคอัมพฤกษ์ ที่แย่ไปกว่านั้น จากการวิจัยที่โรงพยาบาลเซนต์โทมัสในลอนดอน พบว่าเกลือมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด

นอกจากนี้ยังพบว่า เกลือมีผลทำให้โรคริดสีดวงกำเริบ จากข้อคิดเห็นของ Dr.Lohn Lawder จาก Torrance California ได้กล่าวว่า ระดับเกลือที่เกินความต้องการทำให้ร่างกายขับของเหลวเพื่อเจือจาง ของเหลวในร่างกายที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น จะวิ่งผ่านระบบไหลเวียนของร่างกาย ไปยังเส้นเลือดต่างๆ ทั้งนี้มีผลทำให้เส้นเลือดดำโป่งพองได้ในบริเวณทวารหนัก และบริเวณอื่นๆ เช่นเดียวกันกับผลร้ายที่เกิดจากเกลือที่เขียนไว้ในหนังสือ The Doctors Book of Home Remedies ว่าการรับประทานเกลือมากเกินไปทำให้เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศีรษะ(ไมเกรน)

Dr.Norman Schulman สูตินรีแพทย์จาก Cedars-Sinai Medical Center ใน LA แนะนำว่าควรลดการรับประทานเกลือ(เค็ม) ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน เพื่อลดอาการเจ็บคัดหน้าอกก่อนมีประจำ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนโดย Dr.Penny Wise Budoff จาก New York ที่แนะนำว่าให้ลดการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงประมาณ 7 -10 วัน ก่อนมีประจำเดือนเพื่อลดอาการบวมน้ำขณะมีประจำเดือน


ในประเทศอังกฤษ มีคนเสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า 170,000 คนต่อปี

การใช้เครื่องปรุงรสทางเลือกเป็นวิธีที่ดี ลองเครื่องเทศ น้ำมะนาว กระเทียม ตะไคร้ ไวน์ พริก และน้ำส้มสายชู หรืออะไรก็ได้ตามจินตนาการของคุณ เพื่อเพิ่มรสชาติให้อาหาร และจำไว้ว่าวิธีปลอดภัยที่สุดในการตรวจสอบการบริโภคเกลือของคุณคือ การซื้อเครื่องปรุงที่ยังดิบและสดด้วยตัวเอง แล้วนำมาปรุงสุกเร็ว ๆ


โรคที่มากับเกลือ

ความดันโลหิตสูง การบริโภคเกลือมากเกินไป เป็นสาเหตุให้ร่างกายต้องกักเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้น จนทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก เพื่อดันเลือดไปยังเส้นเลือดที่อยู่ทั่วร่างกาย บวมน้ำ เกลือทำให้ร่างกายบวมน้ำ โดยเฉพาะที่เกิดกับผู้หญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน ทำให้รู้สึกท้องอืด กระดูกพรุน ผลการวิจัยระบุว่า การบริโภคเกลือมีส่วนเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของกระดูก เพราะทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียม ผลคือกระดูกเสื่อม มะเร็งกระเพาะอาหาร การบริโภคเกลือมาก ๆ จะไปทำลายผนังกระเพาะอาหาร จึงเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร หอบหืด การบริโภคเกลือมาก ๆ ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ การบริโภคเพียงเล็กน้อยช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น จะได้พึ่งยาน้อยลง


รวบรวมโดย @ สะตอฟอร์ยู เฮลท์ตี้ทีม

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 6782
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง